ศัพท์ ของ วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

วิมตินิยมทางวิทยาศาตร์บางครั้งก็เรียกว่า rational skepticism (วิมตินิยมตามเหตุผล[4]) และบางครั้งหมายถึง skeptical inquiry (การสอบสวนโดยไม่เชื่อ)

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกับวิมตินิยมทางปรัชญา (อังกฤษ: philosophical skepticism)ซึ่งเป็นการไม่ปักใจว่า ความรู้ที่เรามีนั้นเป็นความจริงของธรรมชาติส่วนคำว่า Methodological skepticism (วิมตินิยมโดยระเบียบวิธี) เป็นการตั้งข้อสงสัยในความเชื่อของบุคคลว่าตรงกับความจริง เป็นแนวคิดที่คล้าย ๆ กันกับวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ใช่อันเดียวกันแต่คำว่า "New Skepticism" (วิมตินิยมใหม่) ที่อธิบายโดยพอล์ เคิรตส์นั้น ตรงกับวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์[5] นักเล่นกลผู้เป็นนักวิมตินิยม Jamy Ian Swiss ได้กล่าวไว้ว่า วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์เป็น "วิธีการคิด ไม่ใช่เรื่องที่คิด"[ต้องการอ้างอิง]

นิยามต่าง ๆ

คำนิยามอื่น ๆ ของ "วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์" รวมทั้ง

นักวิมตินิยมเป็นผู้ชอบใจประเด็นความเชื่อและข้อสรุปที่เชื่อถือได้และเป็นจริง มากกว่าประเด็นที่ทำให้เบาใจหรือเหมาะกับสถานการณ์

และดังนั้น จะใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และการคิดด้วยเหตุผล อย่างเข้มงวดและอย่างเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้ออ้างความจริงต่าง ๆ โดยเฉพาะ (ในเรื่องความเชื่อและข้อสรุป)ของตนเองนักวิมตินิยมจะยอมรับอย่างมีเงื่อนไขและไม่ปักใจ ซึ่งข้ออ้างความจริงต่าง ๆ ที่ผ่านการตรวจสอบทางตรรกะที่ถูกต้อง และที่ผ่านการประเมินหลักฐานที่มีอยู่อย่างถี่ถ้วนและจะศึกษาข้อบกพร่องของการคิดหาเหตุผล และกลไกการหลอกลวงของมนุษย์ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการถูกหลอกทั้งโดยตนเองและโดยผู้อื่นนักวิมตินิยมให้ความสำคัญกับวิธีการ (ในการสืบหาความจริง) มากกว่าข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่ง[6]

วิมตินิยมเป็นวิธีการปฏิบัติอย่างมีเงื่อนไขและไม่ปักใจ ต่อข้ออ้างความจริง

เป็นการหาเหตุผลต่อไอเดียทุกอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่มีไอเดียอะไร ๆ ที่เป็นข้อยกเว้นกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิมตินิยมเป็นวิธีการ ไม่ใช่เป็นทัศนคติ[7]

วิมตินิยมเป็นวิธีการตรวจสอบข้ออ้างความจริงเกี่ยวกับโลก

เครื่องมือของนักวิมตินิยมรวมทั้งการหาเหตุผล, การคิดวิเคราะห์ (critical thinking), และความต้องการที่จะได้หลักฐานที่ยืนยันได้ ตรวจสอบได้ เกี่ยวกับข้ออ้างความจริง (โดยเฉพาะที่พิเศษเหนือมนุษย์)โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การคิดหาหลักฐานเหตุผลโดยวิมตินิยม เป็นวิธีการที่อยู่ในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ http://books.google.com/?id=9xJDszg7cuwC&pg=PA5&lp... http://books.google.com/books?id=ARNNLgAACAAJ& http://www.newstatesman.com/ideas/2008/09/evidence... http://scienceblogs.com/ethicsandscience/2008/01/2... http://www.sfgate.com/cgi-bin/article.cgi?f=/c/a/2... http://skepdic.com/ http://skepdic.com http://skepdic.com/contents.html http://skepdic.com/refuge/sheldrake.html http://www.skeptic.com/about_us/