ชีวิตนักรบ ของ วิลเลียม_วอลเลซ

แฮรีผู้ตาบอดได้แต่งเรื่องว่าบิดาของวอลเลซถูกฆ่าตายพร้อมพี่ชายโดยทหารอังกฤษ เป็นเหตุให้วอลเลซต้องต่อสู้และฆ่าทหารอังกฤษไป 5 คน และจากการถูกข่มเหงจากผู้ว่าราชการเมืองดันดีและฆ่าบุตรชายของผู้ว่าราชการฯ แม้จะเป็นเรื่องที่แฮรีฯ สร้างขึ้น แต่ได้พิสูจน์ว่าเชื่อถือได้โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ดันดี

ระหว่างปี พ.ศ. 1839 - พ.ศ. 1840 วอลเลซได้สู้กับพวกอังกฤษและได้รับชัยชนะจากการกระทบกระทั่งเหล่านี้ ต่อมาวอลเลซได้เข้าร่วมรบกับเซอร์วิลเลียม ดักกลาส แห่งฮาร์ดี สามารถปลดปล่อยเมืองแอเบอร์ดีน เพิร์ท กลาสโกว์ สกอน และดันดีเป็นอิสระจากอังกฤษได้ เมื่อถึงระยะนี้ ฝ่ายราชวงศ์สก็อตถูกบีบอย่างหนักจากพระเจ้าเอ็ดเวริร์ด ที่ 1 ในเดือนเมษายน วอลเลซพร้อมผู้ติดตามได้ไปช่วยแอนดรูว์ มอเรย์ที่ "สเตอริง" ซึ่งกำลังลุกขึ้นต่อต้านอังกฤษ วอลเลซใช้ยุทธวิธีลอบโจมตีแล้วถอยหนี เป็นเหตุให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสั่งประหารชีวิตสมาชิกสภาบารอนแห่งไอร์ทั้งหมด วอลเลซตอบโต้ด้วยการสังหารทหารอังกฤษที่ค่ายไอร์เสียชีวิตทั้งค่ายและถอยเข้าป่าเซลเคิร์ก ชื่อเสียงของวอลเลซโด่งดังขึ้นและได้ย้ายจากที่ลุ่มป่าเซลเคิร์กไปอยู่ไฮแลนด์

ยุทธภูมิสะพานสเตอร์ลิง

สะพานสเตอร์ลิง เมื่อ พ.ศ. 2549

ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 1840 วอลเลซได้ชนะการสู้รบที่สะพานสเตอร์ริงทั้งๆ ที่มีไพร่พลน้อยกว่าฝ่ายอังกฤษที่นำโดยเอิร์ลแห่งเซอรเรย์ซึ่งประกอบด้วยทหารม้า 300 นายและทหารราบ 10,000 คน วอลเลซล่อให้ทหารอังกฤษยกข้ามสะพานสเตอร์ลิงมาเกือบสุดแล้วโจมตีโตกลับกลับอย่างรวดเร็ว แต่ทหารอังกฤษส่วนหลังซึ่งกำลังมุ่งตามอย่างรวดเร็วกลับดันกลับจนไปอัดแน่นกันอยู่บนสะพานเป็นเหตุให้สะพานพังทลายลง ทหารอังกฤษจมน้ำตาย แฮรีฯ อ้างว่าฝ่ายวอลเลซแอบใช้เชือกดึงให้สะพานพัง ชัยชนะของวอลเลซที่สะพานสะเตอร์ลิงครั้งนี้สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวสก็อตเป็นอย่างมาก

หลังกลับจากการสู้รบที่สะพานสเตอริง วอลเลซได้รับบรรดาศักดิ์ขุนนางระดับเซอร์และได้รับการขนานนามว่า "ผู้พิทักษ์และแม่ทัพใหญ่แห่งสก็อตแลนด์" โดยกษัตริย์สก็อตแลนด์ที่ถูกกักขังในลอนดอนและมอบอำนาจการบริหารประเทศแก่วอลเลซ หกเดือนหลังการสู้รบที่สะพานสเตอร์ลิง วอลเลซได้นำทัพสู้รบกับอังกฤษทางด้านเหนือเพื่อแสดงให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้เห็นว่าสก็อตแลนด์ยังมีกำลังแข็งแกร่ง ทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงกริ้ว

สงครามฟอลเคิร์ก

ปีต่อมาวอลเลซแพ้การสู้รบที่ฟอลเคิร์ก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 1841 ฝ่ายอังกฤษยกกำลังย่ำยีสก็อตแลนด์และยึดพื้นที่คืนได้มาก ฝ่ายสก็อตใช้ยุทธวิธีเผาค่ายข้าศึกและเผาบ้านเรือนไร่นาของสก็อตเองหากเป็นฝ่ายล่าถอย ทำให้ฝ่ายอังกฤษขาดขวัญกำลังใจ แต่กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดก็ยังไม่ลดละในการตามล่าตัววอลเลซ ยกกำลังติดตามจนวอลเลซต้องหนีและมอบอำนาจ "ผู้พิทักษ์และแม่ทัพใหญ่แห่งสก็อตแลนด์" ให้แก่โรเบิร์ต บรูซ เอิร์ลแห่งคาร์ริก และ จอห์นโคมีนแห่งบาเดนอชซึ่งเป็นเขยของอดีตกษัตริย์จอห์น บาลลิออล ซึ่งได้ตกลงปรองดองกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดต่อมาเมื่อป๊ พ.ศ. 1845 ซึ่งวอลเลซไม่ยอมรับ

วอลเลซได้เดินทางไปราชสำนักฝรั่งเศสกับวิลเลียม ครอว์ฟอร์ดเพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าฟิลิปส์ เลอ เบลในการต่อสู่เพื่ออิสรภาพของสก็อตแลนด์ ระหว่างเดินทางจากอังกฤษ เรือของวอลเลซถูกโจรสลัดผู้ลือนามคือ ริชาร์ด ลองโกวิลล์ ดักปล้น แต่วอลเลซกลับเป็นฝ่ายจับลองโกวิลล์ไปถวายพระเจ้าฟิลิปส์ แล้วขอพระราชทานอภัยโทษให้ลองโกวิลล์เพื่อให้เป็นฝ่ายช่วยข้างสก็อตแลนด์ เรื่อราวตอนนี้เชื่อว่าเป็นการเสริมแต่งของแฮรีฯ ต่อมา ในปี พ.ศ. 1846 วอลเลซได้รับการขอร้องให้กลับสก็อตแลนด์

การถูกจับประหารชีวิต

อนุสาวรีย์ของวอลเลซที่ตั้งอยู่ใกล้จุดถูกประหาร

เซอร์ วิลเลียม วอลเลซ กลับถึงสก็อตแลนด์และซ่อนตัวที่ฟาร์มของวิลเลียม ครอว์ฟอร์ดใกล้เอโควูด ฝ่ายอังกฤษได้ระแคะระคายจึงออกตามจับ แต่วอลเลซเอาตัวรอดได้หลายครั้งและถูกจับตัวได้ในที่สุดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 1848 โดยจอห์น เดอ เมนทีท อัศวินผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด โดยจับตัววอลเลซมอบให้ทหารอังกฤษที่เมือง โรบรอยสตันใกล้กลาสโกว์และถูกส่งตัวไปลอนดอนถูกฟ้องในข้อหากบฏและฆ่าพลเรือนและนักโทษ วอลเลซกล่าวสู้คดีว่า "ข้าพเจ้ามิได้เป็นกบฏต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เพราะข้าพเจ้าไม่ได้เป็นข้าแผ่นดินของพระองค์ พระเจ้าจอห์น บาลลิออล คือกษัตริย์ของข้าพเจ้า" และยืนยันไม่ยอมรับสารภาพ

ในวันที่ 23 สิงหาคม ปีเดียวกัน วอลเลซ ถูกเปลื้องผ้าในศาล ถูกม้าลากออกไปตามถนนในเมืองและถูกแขวนคอในลานเมืองสาธารณะที่ตลาดสมิทฟีลด์ (ด้วยวิธีการแขวนคอ ควักไส้ และผ่าสี่) ศีรษะของวอลเลซถูกปักประจานที่สะพานลอนดอน ร่วมกับศีรษะของน้องชาย คือจอห์นและ ไซมอน ฟราเซีย ส่วนแขนขาของวอลเลซถูกแยกนำไปประจานที่นิวคาสเซิล เบอร์วิก สเตอร์ลิงและที่แอเบอร์ดีน

ดาบของวอลเลซถูกยึดไว้ที่ปราสาทลูดอนเป็นเวลานาน ปัจจุบันถูกนำไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวอลเลซ ใกล้เมืองสเตอร์ลิง

ใกล้เคียง

วิลเลียม เชกสเปียร์ วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน วิลเลิม เดอ โกนิง วิลเลียม แอดัมส์ วิลเลียม วอลเลซ วิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ วิลเลียม รีกัล วิลเลียม ฟอกเนอร์ วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1 วิลเลียม ชอกลีย์