ไพรเมต ของ วิวัฒนาการของการเห็นสี

ตั้งแต่ต้นยุคพาลีโอจีน สปีชีส์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นผ่านการแผ่ปรับตัวโดยเปลี่ยนจากสัตว์ขุดรูอยู่มาอยู่ในที่เปิด แต่สปีชีส์โดยมากก็ยังเห็นเป็นสีค่อนข้างไม่ค่อยดียกเว้นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องบางชนิด (ซึ่งอาจได้ดำรงการเห็นเป็นสีดั้งเดิมไว้) และไพรเมตบางชนิดรวมทั้งมนุษย์ไพรเมตเป็นอันดับสัตว์กลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นราว ๆ ต้นยุคพาลีโอจีน

หลังจากช่วงนั้น ไพรเมตได้วิวัฒนาการเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ชนิดขึ้นผ่านการเพิ่มขึ้นของยีน (gene duplication) เพราะอยู่ภายใต้แรงกดดันการคัดเลือกสูงเพื่อพัฒนาให้เห็นเป็นสีได้ดีกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปกติอื่น ๆ สมรรถภาพการเห็นสีแดง[6]และสีสันเป็นส้ม ๆ ช่วยให้ไพรเมตซึ่งเป็นสัตว์อาศัยอยู่ในต้นไม้ สามารถแยกสีเหล่านี้จากสีเขียวซึ่งสำคัญเป็นพิเศษเพื่อเห็นผลไม้สีแดงและส้ม พร้อมทั้งใบไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งคลอโรฟิลล์ยังไม่ได้ปกปิดแคโรทีนอยด์สีแดงและสีส้ม

ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า การเห็นสีของผิวหนังที่ทำให้รู้อารมณ์ของสัตว์อื่น อาจเป็นปัจจัยให้พัฒนาเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ชนิดสีแดงยังมีผลอื่น ๆ ต่อพฤติกรรมของไพรเมตและมนุษย์[9]

ในปัจจุบัน ลิงโลกเก่าและเอปรวมทั้งมนุษย์ ปกติจะเห็นเป็นสีด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือทั้งตัวผู้ตัวเมียจะมีอ็อปซิน 3 ชนิด ซึ่งไวแสงคลื่นความถี่สั้น กลาง และยาว[4]เทียบกับลิงโลกใหม่ส่วนน้อยที่เห็นเป็นสีเช่นนี้ (คือปกติจะเห็นโลกด้วยเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด)[10]

ใกล้เคียง

วิวัฒนาการของมนุษย์ วิวัฒนาการ วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วิวัฒนาการของตา วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต วิวัฒนาการของคอเคลีย วิวัฒนาการในมุมมองของศาสนาอิสลาม วิวัฒน์ ศัลยกำธร วิวัฒนาการของการเห็นสี วิวัฒน์ ผสมทรัพย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิวัฒนาการของการเห็นสี http://uahost.uantwerpen.be/funmorph/raoul/macroev... http://www.neitzvision.com/content/publications/19... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10413401 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18217181 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25536302 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9775215 http://jov.arvojournals.org/article.aspx?articleid... //doi.org/10.1007%2Fs00239-008-9065-9 //doi.org/10.1038%2Feye.1998.143 //doi.org/10.1038%2Fncomms6920