ประวัติวิศวกรรมการวัดคุมในประเทศไทย ของ วิศวกรรมการวัดคุม

ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่

ในอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน โรงไฟฟ้า โรงปิโตรเคมี ล้วนแล้วต้องใช้ความรู้ในด้านอินสตรูเมนเตชั่น ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังขาดแคลนความรู้ในด้านนี้เป็นอย่างมาก ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีแนวคิดที่จะเปิดภาควิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางด้านอุตสาหกรรม จึงดำเนินการจัดทำหลักสูตรขึ้นในปี พ.ศ. 2520 เป็นหลักสูตร อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อสบ.) ขึ้น เพื่อรองรับนักศึกษาที่จบ ปวส. (อนุปริญญา) เข้าศึกษาต่อ ซึ่งจัดตั้งโดย รศ. ประกิจ ตังติสานนท์ ในสมัยนั้นเรียกว่า ภาคเทคโนโลยีการวัดคุมทางอุตสาหกรรม ซึ่งเปิดสอนเฉพาะภาคค่ำ รศ. ประกิจ ตังติสานนท์ มอบหมายงานให้กับ รศ.กิตติ ตรีเศรษฐ์ เป็นผู้ดูแล ต่อมาได้รับอนุมัติเป็นภาควิชา และได้มีโครงการของ UNDP (United Nation Development Program) ซึ่งเป็นโครงการของสหประชาชาติ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ทางด้านเครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญ และฝึกอบรม อาจารย์ให้มีประสบการณ์มากขึ้น ซึ่งในขณะนั้น รศ.ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ เป็นอธิการบดีและ รศ.กิตติ ตรีเศรษฐ์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนเจรจาที่จะรับโครงการนี้ ช่วงดังกล่าว มีหลายสถาบันที่จะได้รับความช่วยเหลือ ซึ่ง UNDP ได้สำรวจความพร้อมในด้านบุคคลากร และด้านอื่น ๆ จนเห็นสมควรสนับสนุนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และในปี พ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนชื่อภาคเป็น ภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดสอนในประเทศไทย ได้แก่

ใกล้เคียง

วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิศวกรรมการบินและอวกาศ วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์