สาขาวิชาย่อย ของ วิศวกรรมซอฟต์แวร์

วิศวกรรมซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกไปได้อีก 10 สาขาวิชาย่อย คือ[4]

  • การวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์: การศึกษาวิเคราะห์ข้อกำหนดและข้อกำหนดสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของซอฟต์แวร์.
  • การออกแบบซอฟต์แวร์: การออกแบบซอฟต์แวร์มักใช้เครื่องมือช่วยในการออกแบบ Computer-Aided Software Engineering (CASE) และใช้การออกแบบที่เป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปเช่น การออกแบบโดยใช้ภาษายูเอ็มแอล (UML) เป็นต้น
  • การพัฒนาซอฟต์แวร์: การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
  • การทดสอบซอฟต์แวร์: การทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์
  • การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์: ระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มักมีปัญหาหลาย ๆ อย่าง หลังจากพัฒนาเสร็จแล้วยังจำเป็นต้องมีการเพิ่มเติมเรื่อย ๆ เป็นเวลาอีกยาวนาน
  • การจัดการการตั้งค่าซอฟต์แวร์: เนื่องจากซอฟต์แวร์เป็นระบบที่มีคววมซับซ้อนสูง การกำหนดค่า (เช่นการควบคุมเวอร์ชันและการควบคุมซอร์ซโค๊ด) ต้องได้รับการจัดการตามมาตรฐานและกรรมวิธีที่ถูกต้อง
  • การจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์: การบริหารจัดการระบบซอฟต์แวร์เรียนแบบมาจากการบริหารโครงการ แต่มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งจะพบแค่ในสาขาของซอฟต์แวร์
  • กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์: กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหัวข้อที่มีผู้พูดถึงเป็นอย่างมาก เช่น กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเอจายล์ (อังกฤษ: Agile) หรือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบน้ำตก (Waterfall)
  • เครื่องมือในวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  • คุณภาพซอฟต์แวร์: การควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ และการประกันคุณภาพให้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์
  • ซอฟต์แวร์ท้องถิ่น: เป็นหนึ่งสาขาของอุตสาหกรรมนี้ที่เกี่ยวกับภาษาท้องถิ่น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ใกล้เคียง

วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิศวกรรมการบินและอวกาศ วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์