ศาสตร์และศิลป์ ของ วิศวกรรมต่อเรือ

เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอสคิตตี้ฮอว์กที่ฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์

ในยุคโบราณ, สถาปัตยกรรมเรือเป็นงานเชิงศิลป์มากกว่าเชิงวิทยาศาสตร์. ความเหมาะสมของรูปทรงเรือถูกตัดสินโดยดูที่ลายเส้นของเรือบนกระดาษหรือมองจากเรือต้นแบบจำลอง. การมีรูปร่างที่ไม่น่าดูหรือมีการเปลี่ยนฉับพลันของลายเส้นก็จะถือว่าเป็นข้อบกพร่อง. สิ่งนี้รวมทั้งสายระโยงเรือ, การจัดดาดฟ้าเรือและแม้แต่เครื่องตกแต่ง. คำวิจารณ์ อย่าง เทอะทะ, แน่นไปหมด และสวยงาม ก็ยังมีใช้กันถึงปัจจุบัน. เรือที่ถูกยอมรับว่า 'ใช้ได้' หมายถึงมีลายเส้นที่ราบรื่นจากหน้าเรือไปท้ายเรือ, และยังเป็นรูปร่างที่ "ถูกต้อง"อีกด้วย. การกำหนดสิ่งที่ "ถูกต้อง" ในสถานการณ์เฉพาะต่างๆ ทั้งที่ยังไม่มีการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนอย่างชัดเจน ก็สะท้อนถึงความเป็นศิลปะของสถาปัตยกรรมเรือ ที่มีมาจวบจนถึงในยุคปัจจุบัน

ในขณะที่การมีคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงซอฟแวร์พิเศษ และข้อมูลจากงานวิจัย และการทดสอบแบบจำลองต่างๆ ได้ช่วยให้นาวาสถาปนิกในปัจจุบัน

สามารถทำนายประสิทธิภาพการทำงานของยานพาหนะทางทะเล หรือเรือ ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สเถียรภาพ, ความต้านทาน และการใช้กำลังงาน, การพัฒนาตัวเรือ, การวิเคราะห์โครงสร้าง, การสร้างแบบจำลองของน้ำที่พัดท่วมถึงดาดฟ้า, และการวิเคราะห์กระแทก. ข้อมูลต่างๆ จะถูกนำมาแบ่งปันร่วมกันอย่างสม่ำเสมอในการประชุมระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนโดย Royal Institution of Naval Architects (RINA), Society of Naval Architects and Marine Engineers (SNAME) และสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ.

นาวาสถาปนิก

เรือคอนเทนเนอร์ 'Cosco เซียะเหมิน' ออกจาก ปากน้ำ Burrard (ท่าเรือแวนคูเวอร์)ไฟล์:Oil platform P-51 (Brazil) -2.jpgแพลตฟอร์มน้ำมัน

เนื่องจากความซับซ้อนของระบบต่างๆ ที่ต้องทำงานสอดคล้องกันในเรือแต่ละลำ, การออกแบบเรือจึงต้องใช้ความร่วมมือระหว่างหลายกลุ่มของบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางเทคนิคที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะอย่าง โดยจะถูกประสานงานโดยหัวหน้านาวาสถาปนิก (นาวาสถาปนิก เป็นคำที่แปลตรงตามจากภาษาอังกฤษว่า Naval Architect ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงสถาปนิก แต่หมายถึงวิศวกรเฉพาะทาง และเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน บ้างจึงเรียกแทนว่า วิศวกรออกแบบเรือ หรือ วิศวกรต่อเรือ) [1].

นาวาสถาปนิกคือวิศวกรที่มีความรับผิดชอบในการออกแบบ, ก่อสร้าง, และ/หรือการซ่อมแซมเรือขนาดใหญ่, เรือเล็ก, เรือทางทะเลอื่น ๆ, และโครงสร้างนอกชายฝั่ง, ทั้งในเชิงพาณิชย์และการทหาร, รวมไปถึง:

  • เรือสินค้า - เรือบรรทุกน้ำมัน, เรือบรรทุกก๊าซ, เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป, เรือบรรทุกสินค้าเทกอง, เรือคอนเทนเนอร์
  • เรือข้ามฟากสำหรับผู้โดยสาร/ยานพาหนะ, เรือใบ (อังกฤษ: cruise ships)
  • เรือรบ - เรือฟริเกต, เรือทิ้งทุ่นระเบิด, เรือบรรทุกเครื่องบิน, เรือสะเทินน้ำสะเทินบก
  • เรือดำน้ำและยานใต้น้ำ
  • เรือทลายน้ำแข็ง (อังกฤษ: icebreakers)
  • ยานความเร็วสูง - ยาน hovercraft, เรือหลายลำตัว, เรือ hydrofoil
  • เรือใช้งานขนาดเล็ก - แพ, เรือประมง, เรือจัดการสมอ, เรือจัดทำแพลตฟอร์ม, เรือลากจูง, เรือนำทาง, เรือกู้ภัย
  • เรือยอชท์, เรือกำลัง, และเรือสันทนาการอื่น ๆ
  • แพลตฟอร์มนอกชายฝั่งและโครงสร้างการพัฒนาใต้ทะเล

บางส่วนของเรือเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของเรือที่ใหญ่ที่สุด (เช่น supertankers), ที่ซับซ้อนที่สุด (เช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน) และโครงสร้างเคลื่อนที่มูลค่าสูงที่ผลิตโดยมนุษย์. การใช้เรือมักจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของโลก. วิศวกรรมที่ทันสมัยในขนาดที่ใหญ่นี้จะต้องเป็นกิจกรรมของทีมงานที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาของแต่ละคน. นาวาสถาปนิกเป็นผู้บูรณาการกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งต้องการบุคลิกความเป็นผู้นำที่มีคุณภาพด้านการบริหารจัดการและความสามารถในการรวบรวมความต้องการที่มักจะขัดแย้งกันเองของข้อจำกัดการออกแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างที่สุด[2].

นอกเหนือจากบทบาทความเป็นผู้นำนี้, นาวาสถาปนิกยังต้องมีหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างความมั่นใจว่าได้ผลิตงานที่ออกแบบด้วยความปลอดภัย, ประหยัด, เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีค่าทางทะเล. ในการดำเนินงานทั้งหมดเหล่านี้, นาวาสถาปนิกจะต้องมีความเข้าใจในหลายสาขาของวิศวกรรมและต้องอยู่ในแถวหน้าของการใช้เทคโนโลยีระดับสูง. เขาหรือเธอยังจะต้องสามารถใช้บริการที่ได้รับจากนักวิทยาศาสตร์, ทนายความ, นักบัญชี, และนักธุรกิจในหลายรูปแบบ อย่างมีประสิทธิภาพ

นาวาสถาปนิกมักจะทำงานให้กับอู่ต่อเรือ, เจ้าของเรือ, บริษัทและที่ปรึกษาด้านการออกแบบ, ผู้ผลิตอุปกรณ์, สังคมระดับชั้น, หน่วยงานกำกับดูแล (กฎหมายทางเรือ), ทหารเรือ, และรัฐบาล.

ใกล้เคียง

วิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิศวกรรมการบินและอวกาศ วิศวกรรมกำลังไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์