อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ของ วุฒิสภาฝรั่งเศส

ภายใต้รัฐธรรมนูญ วุฒิสภานั้นเกือบจะมีอำนาจใกล้เคียงกับสภาผู้แทนราษฎร กระบวนการร่างกฎหมาย เริ่มต้นจากพิจารณาโดยคณะรัฐมนตรี (เรียกว่า projets de loi) หรือโดยสมาชิกรัฐสภา (เรียกว่า propositions de loi) เพื่อตรากฎหมาย การร่างกฎหมายก็ต้องผ่านการพิจารณาจากทั้งสองสภาเพื่อให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเดียวกัน หากทั้ง 2 สภามีความเห็นตรงกันก็ถือว่าร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา โดยขั้นตอนนี้จะกินเวลานานกว่าทั้งสองสภาจะบรรลุข้อยุติในร่างกฎหมายนั้น ๆ แต่ในกรณีที่ทั้ง 2 สภามีความเห็นไม่ตรงกัน ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็จะถูกส่งกลับไปกลับมาระหว่าง 2 สภา (navette) ซึ่งนายกรัฐมนตรีสามารถขอให้มีการตั้ง "คณะกรรมาธิการ" (commission mixte paritaire) ประกอบด้วยสมาชิกได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา 7 คนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเพื่อให้ได้ข้อยุติ แต่หากคณะกรรมาธิการร่วมกันไม่สามารถตกลงกันได้อีก ร่างกฎหมายนั้นจะถูกส่งไปให้ทั้งสองสภาพิจารณาอีกครั้ง และหลังจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นส่วนข้างมากฝั่งรัฐบาล ซึ่งกรณีนั้นไม่เกิดขึ้นบ่อย โดยปกติแล้วทั้งสองสภานั้นจะสามารถหาข้อยุติได้ในที่สุด หรือมิฉะนั้นคณะรัฐมนตรีก็จะถอดเรื่องออกจากการพิจารณา

อย่างไรก็ตาม อำนาจในการตรากฎหมายนั้นจึงเสมือนตกอยู่ในมือของสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคณะรัฐมนตรีนั้นมาจากพรรคเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังสามารถเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี (motion de censure) ได้ แต่อำนาจที่จะผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจนั้นค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะในกรณีรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 นั้น คณะรัฐมนตรีที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งนั้นถูกสงวนสิทธิ์การถูกลงมติไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้ สมาชิกรัฐสภาจะสามารถยื่นมติไม่ไว้วางใจได้ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกอย่างน้อยจำนวนร้อยละสิบของสมาชิกทั้งหมดลงชื่อร่วมกัน หากการลงมติไม่ไว้วางใจครั้งนั้นไม่ผ่านการรับรองจากเสียงส่วนใหญ่แล้ว สมาชิกที่ร่วมลงชื่อนั้นจะไม่สามารถยื่นมติไม่ไว้วางใจได้อีกจนกระทั่งปิดสมัยประชุม หากการลงมตินั้นได้รับการสนับสนุน การจะลงมติไม่ไว้วางใจผ่านได้นั้นต้องได้เสียงส่วนใหญ่เกินกึ่งหนึ่งของสภา มิใช่เพียงเสียงข้างมากดั่งกรณีการออกเสียงรับรองทั่วไป โดยทั่วไปแล้วหากสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภานั้นมีเสียงส่วนมากคนละพรรคกัน สภาผู้แทนราษฎรมักจะมีอำนาจเหนือกว่า และการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างสองสภานั้นยังไม่เคยพบมาก่อนในรัฐสภาฝรั่งเศส

วุฒิสภายังมีหน้าท่สอดส่องดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีโดยจัดพิมพ์เป็นรายงานต่าง ๆ ประจำในแต่ละปี

แหล่งที่มา

WikiPedia: วุฒิสภาฝรั่งเศส http://www.liberation.fr/politiques/010132156-sena... http://www.senat.fr/ http://www.senat.fr/listes/senateurs_representant_... http://www.senat.fr/lng/en/index.html http://www.senat.fr/role/fiche/groupespol.html http://www.cairn.info/revue-parlements-2006-2-page... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.senate.go.th/index-of-parliament/ot/fr_... http://www.senate.go.th/index-of-parliament/pages/...