ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล
ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล

ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล

ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล (อังกฤษ: International Military Tribunal for the Far East) หรือเรียก การพิจารณาคดีกรุงโตเกียว (อังกฤษ: Tokyo Trials) หรือ ศาลอาชญากรรมสงครามกรุงโตเกียว (อังกฤษ: Tokyo War Crimes Tribunal) เป็นศาลทหารซึ่งประชุมกันเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1946 เพื่อพิจารณาคดีผู้นำจักรวรรดิญี่ปุ่นฐานอาชญากรรม "ระดับเอ" ซึ่งสงวนไว้สำหรับผู้มีส่วนในการสมคบร่วมเพื่อเริ่มและก่อสงคราม[1]ผู้นำทางทหารและการเมืองญี่ปุ่น 28 คนถูกตั้งข้อหาก่อสงครามรุกราน และรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามตามปกติ ส่วนกำลังพลระดับล่างอีกกว่า 5,700 คนถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมสงครามตามปกติในการพิจารณาแยกต่างหากซึ่งมีประชุมในประเทศออสเตรเลีย จีน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐ ข้อกล่าวหาครอบคลุมอาชญากรรมหลายฐานตั้งแต่การละเมิดเชลย การข่มขืนกระทำชำเรา ทาสทางเพศ ทรมาน ปฏิบัติต่อกรรมกรอย่างเลว ประหารชีวิตโดยไม่มีการพิจารณาคดี และทดลองทางการแพทย์อย่างไม่มีมนุษยธรรม ประเทศจีนจัด 13 ศาล ทำให้มีการพิพากษาลงโทษ 504 คน ในจำนวนนี้ประหารชีวิต 149 คนสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะแห่งญี่ปุ่นและพระบรมวงศานุวงศ์ญี่ปุ่นทุกพระองค์ เช่น นายทหารอาชีพ เจ้าซูฮิโกะ อาซากะ ไม่ถูกดำเนินคดีบานเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทั้งสามหมวด เฮอร์เบิร์ต บิกซ์ (Herbert Bix) อธิบายว่า "ทั้งรัฐบาลทรูแมนและพลเอกแมคอาร์เธอร์เชื่อว่าการปฏิรูปยึดครองจะนำไปปฏิบัติได้อย่างราบรื่นหากพวกเขาใช้จักรพรรดิฮิโรฮิโตะเพื่อสร้างความชอบธรรมซึ่งการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา"[2] ผู้ต้องสงสัย 50 คน เช่น โนบูซูเกะ คิชิ ซึ่งต่อมาเป็นนายกรัฐมนตรี และโยชิซูเกะ ไอกาวะ ประธานนิสสัน ถูกตั้งข้อหาแต่ได้รับการปล่อยตัวใน ค.ศ. 1947 และ 1948 ชิโระ อิชิอิได้รับความคุ้มกันโดยแลกลับข้อมูลที่รวบรวมจากการทดลองต่อเชลยมีชีวิตของเขาศาลฯ ปิดการประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948

ใกล้เคียง

ศาลทหาร (ประเทศไทย) ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล ศาลทหารระหว่างประเทศ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลหลักเมืองนครราชสีมา ศาลหลักเมือง ศาลหลักเมืองผิงเหยา ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์