คำวินิจฉัย ของ ศาลรัฐธรรมนูญ_(ประเทศไทย)

ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก
ส่วนนี้ของบทความอาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป

ตั้งแต่มีการออกคำสั่งของคณะรัฐประหารฉบับที่ 3 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 หลังการรัฐประหาร 1 วัน ซึ่งส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญที่มีมาแต่เดิมสิ้นสภาพและศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ก็ได้ขึ้นปฏิบัติการโดยมีองค์ประกอบและวิธีการได้มาตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว) มาตรา ๓๕ https://www.opdc.go.th/Law/File_download/1159841316-1.pdf

พ.ศ. 2550

ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย จากการจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี โดยในภายหลัง นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญในขณะนั้น กล่าวถึงการวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค ณ ขณะนั้นเป็นไปเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง ซึ่งไม่ได้วินิจฉัยคดีโดยวางอยู่บนพื้นฐานนิติรัฐ นิติธรรม

ตัดสินให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหาในกรณีจ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ซึ่งในภายหลังนายสุขสันต์ ไชยเทศ อดีตผู้อำนวยการพรรคพัฒนาชาติไทย และนายชวการ โตสวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคพัฒนาชาติไทย ซึ่งเป็นพยานปากเอกคดียุบพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สัญญาว่าจะให้เงินพยานพรรคเล็กคนละ 15 ล้านบาทและช่วยเรื่องคดีแลกกับการที่ให้พยานเหล่านี้ให้การว่าไปพบ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาเพื่อรับการว่าจ้างให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยที่ความจริงแล้วมิได้มีเหตุการณ์ดังกล่าว โดยในระหว่างการดำเนินคดี นายสุเทพ เทือกสุบรรณได้นำพยานเหล่านี้ไปเก็บตัวในเซฟเฮาส์ทางภาคใต้ และสุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเหลือเรื่องคดีกับพยานพรรคเล็กเหล่านี้ดังที่สัญญาไว้แต่อย่างใด

พ.ศ. 2551

วินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากจัดรายการชิมไปบ่นไปซึ่งในภายหลังนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ยอมรับว่าการวินิจฉัยถอด นายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นผิดพลาด ด้วยการนำข้อกฎหมายมาวางก่อน แล้วค่อยนำข้อเท็จจริงมาพิจารณา

ตัดสินให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และเพิกถอนสิทธิลงเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี

พ.ศ. 2553

ยกคำร้อง กรณีนายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์ใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ ทว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง

ยกคำร้อง กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า พรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคจำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 โดยศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง


พ.ศ. 2556

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาและคุณสมบัติของ ส.ว.เป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา 68 โดยจากกรณีนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากต่อส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่กล่าวว่า

ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลยหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยไม่ฟังเหตุผลและขาดหลักประกันจนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่ก็จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศไปอย่างชัดแจ้ง

ซึ่งในตอนท้ายของคำวินิจฉัย ก็มีเป็นการลงมติโดยเสียงข้างมากขององค์คณะตุลาการในการตัดสินเรื่องนี้

อาศัยเหตุดังได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นจึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าการดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 มาตรา 125 วรรค 1 และวรรค 2 มาตรา 126 วรรค 3 มาตรา 291 และมาตรา 3 และวินิจฉัยด้วยมติเสียงข้างมากว่า 5 ต่อ 4 ว่า มีเนื้อความที่เป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 อันเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1

ใกล้เคียง

ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ (อิตาลี) ศาลรัฐมนตรีสภา (ประเทศฝรั่งเศส) ศาลรัฐมนตรีสภา (ประเทศเนเธอร์แลนด์) ศกลรัตน์ วรอุไร ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย) ศาลภัญชิกา ศาลจังหวัด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาลรัฐธรรมนูญ_(ประเทศไทย) http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://maps.google.com/maps?t=k&q=Thailand&ll=13.7... http://www.thairath.co.th/content/pol/357561 http://www.thairath.co.th/content/pol/379866 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0004613... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0012315... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/...