ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ตั้งของหลักเมือง ซึ่งตามธรรมเนียมพิธีของศาสนาพราหมณ์,ศาสนาพื้นบ้านแบบจีนหรือลัทธิเต๋าว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ศาลหลักเมืองในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำจากไม้มงคล เช่น ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ ในลักษณะเสา ปลายยอดเป็นดอกบัวตูม หรือหน้าเทวดา หรืออาจเป็นหลักหินโบราณ ใบเสมาโบราณ ที่พบในพื้นที่นั้นๆ ตัวศาลส่วนใหญ่เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูทั้งสี่ด้าน ยอดอาจเป็นแบบปรางค์ แบบปราสาท แบบมณฑป หรือเป็นศาลเจ้าแบบจีน ตามศรัทธาการก่อสร้างในพื้นที่นั้น บางพื้นที่อาจพบร่วมกันทั้งเสาหลักเมือง และศาลเจ้าแบบจีน ซึ่งมักมีองค์ประธานศาลเจ้าเป็นเทวรูปไม้หรือศิลา เรียกว่า เจ้าพ่อหลักเมือง หรือเจ้าแม่หลักเมือง สถานที่ตั้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า อาจเป็นตัวจังหวัด หน้าศาลากลางจังหวัด ในประเทศไทยจังหวัดส่วนใหญ่มีศาลหลักเมือง บางอำเภอก็มีศาลหลักเมือง ซึ่งยังคงเรียกว่า ศาลหลักเมืองเนื่องจากบางอำเภอก็เป็นเมืองเก่า ก่อนถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอในปัจจุบัน ตามชุมชนเล็กๆ อื่นๆ ก็อาจมีศาลประจำชุมชนเหมือนกัน แต่จะเรียกเป็นศาลหรือเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ชุมชน

ใกล้เคียง

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ศาลหลักเมืองนครราชสีมา ศาลหลักเมือง ศาลหลักเมืองผิงเหยา ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา ศาลหลักเมืองสุพรรณบุรี ศาลหลักเมืองอุดรธานี ศาลล้มละลาย (ประเทศไทย) ศาลและสุสานบังทอง