การสืบสาน ของ ศิลปะไทย

ช่างไทยสมัยโบราณมักจะเขียนภาพโดยไม่บอกนามให้ปรากฏ การสืบค้นศิลปินไทยที่เป็นครูช่างจึงยากลำบาก เท่าที่บอกเล่าจากปากต่อปากพอจะจำกล่าวขานได้บ้างก็คือ ครู คงแป๊ะกับครูทองอยู่ที่เขียนภาพ ไทยอย่างวิจิตรภายในพระอุโบสถวัด สุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ครูทั้งสองคิดว่าช่างไทยสมัยก่อนเขียนภาพด้วยความศรัทธาทางศาสนา อุทิศเวลาและความสามารถเป็นการสร้างผลกรรมดีเป็นบุญในภพหน้า ถึงแม้จะเขียนในที่เล็ก ๆ แคบ ๆ และมืดโดยใช้คบไฟส่องเขียน ก็ยังอดทนพยายามอุทิศเวลาเขียนได้จนสำเร็จ เช่น ภายในกรุ พระปรางค์ พระเจดีย์ ในโบสถ์และวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัติวงศ์ ขณะพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ชอบเดินดูภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ผนังระเบียงคดวัดพระแก้ว เมื่อกลับถึงพระตำหนักก็ทรงใช้ดินสอขาวเขียนภาพที่ทรงจำได้เหล่านั้นไว้บนบานตู้ไม้ และครั้งหนึ่งพระองค์ยังทรงพระเยาว์ได้ตามพระปิยะมหาราชเสด็จประพาสต้นไปยังหัวเมือง ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเมื่อเสด็จไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี เป็นป่าที่สมบูรณ์มีพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวยงาม ณ บริเวณพลับพลาที่พักใกล้น้ำตกไทรโยค เป็นแรงบันดาลใจทำให้พระองค์ท่านแต่งเพลงเขมรไทรโยคขึ้น ต่อมาเมื่อพระองค์เจริญพระชันษา พระองค์ก็ยังทรงใฝ่หาความรู้ลักษณะเช่นนี้ตลอดมาจนมีฝีมือสูงส่ง พระองค์ได้คิดออกแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิธโดยนำเอาศิลปะไทยประยุกต์กับปัจจุบัน โดยมีหินอ่อนกระจกสีและกระเบื้องเคลือบผสมผสานอย่างลงตัว จนพระอุโบสถหลังนี้สวยงามเป็นที่แปลกตาแปลกใจ ปัจจุบันพระองค์เป็นที่ยกย่องว่าเป็นสมเด็จครูแห่งการช่างไทย

บรรดาช่างไทยได้สร้างตำราเกี่ยวกับลายไทยหลายฉบับ ที่สำคัญ ๆ และยึดถือในปัจจุบันเช่น

  1. พระเทวาภินิมมิต เขียน "สมุดตำราลาย ไทย"
  2. ช่วง เสลานนท์ เขียน "ศิลปไทย"
  3. พระพรหมพิจิตร เขียน "พุทธศิลปสถาปัตยกรรมภาคต้น"
  4. โพธิ์ ใจอ่อนน้อม เขียน "คู่มือลายไทย"
  5. คณะช่างจำกัด เขียน "ตำราภาพลายไทย"
  6. เลิศ พ่วงพระเดช เขียน "ตำราสถาปัตยกรรมและลาย ไทย"