ประวัติศูนย์การทหารปืนใหญ่ ของ ศูนย์การทหารปืนใหญ่

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าเหล่าและสายวิทยาการปืนใหญ่สนามและการต่อสู้ป้องกันภัย ทางอากาศของ ทบ. ในปัจจุบันนี้นั้น ถือกำเนิดมาจาก จเรทัพบก ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามกุฏราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งเป็นจเรทัพบกและมีนายพันเอกพระประสิทธิ์ราชศักดิ์ เป็นผู้ช่วยจเรทัพบก เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 โดยให้ขึ้นตรงต่อกรมยุทธนาธิการ (ทบ.) สาเหตุที่โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจเรทัพบกขึ้นก็เพราะเริ่มมีหน่วยทหารประจำหัวเมืองต่าง ๆ หลายหัวเมือง จำเป็นต้องมีผู้ตรวจการทหารบกทำการตรวจตราต่างพระเนตรพระกรรณ

  1. ต่อมาในปี 2448 เปลี่ยนชื่อจากจเรทัพบกเป็นกรมจเรทัพบก คงมีเจ้าหน้าที่เพียง 2 ตำแหน่ง ดังเดิม.
  2. ครั้นปี 2449 ได้เพิ่มเจ้าหน้าที่ให้อีก 2 ตำแหน่ง คือ ผู้ช่วยจเรทหารราบ และผู้ช่วยจเรทหารปืนใหญ่ พระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล) ในขณะนั้นมียศ นายพันตรี หลวงสุรยุทธโยธาหาญ เป็นผู้ช่วยจเรทหารราบ และนายพันตรี หลวงศัลวิธานนิเทศ เป็นผู้ช่วยจเรทหารปืนใหญ่.
  3. ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2541 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจเรทหารปืนใหญ่, จเรทหารช่างและจเรพัสดุขึ้น 3 ตำแหน่ง

ครั้นถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2451 กรมยุทธนาธิการ ได้ปรับปรุงกิจการจเร ใหม่โดยจัด ตั้งจเรเหล่า และ กำหนด หน้าที่จเรไว้เป็นข้อบังคับจเรทหารบก แบ่งเป็นจเรทัพบก, จเรทหารราบ, จเรทหารม้า, จเรทหารปืนใหญ่, จเรทหารช่าง และจเรพัสดุ สำนักงานจเรต่าง ๆ เป็นส่วนรวมว่าจเรทหารบกแผนกจเรทหารปืนใหญ่ ซึ่งกลายเป็นศูนย์การทหารปืนใหญ่ ในปัจจุบัน โดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2451

ในตอนปลายรัชกาล (2453) มีการขยายกำลังกองทัพครั้งใหญ่ คือมีกำลัง 10 กองพล หน่วยส่วนกลาง มีถึง 12 หน่วย สำหรับแผนกจเรทหารปืนใหญ่ของกรมยุทธนาธิการนั้นมี พลตรี กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ทรงรั้งตำแหน่งจเรทหาร ปืนใหญ่และจเรทหารช่างด้วย เมื่อปืนใหญ่มีระยะยิงไกลขึ้นและกระสุนมีอำนาจมากขึ้น จะเป็นทีจะต้องหา สนามยิงปืน ที่เหมาะสม และมีความปลอดภัยเพียงพอ กองทัพบกจึงตกลงใจให้สร้างสนามยิงปืนใหญ่ขึ้นที่ตำบล โคกกระเทียม อำเภอเมือง ลพบุรี ในปี 2457 คือที่ตั้งศูนย์การทหารปืนใหญ่ปัจจุบันนี้ โดยมี พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงกลาโหม จเรการปืนใหญ่ ทหารบกและรักษาการ ผู้บังคับการ โรงเรียน ทหารปืนใหญ่เป็นแม่กองงานท่านแรก วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2481 แผนกที่ 3 กรมจเรทหารบก (บก.ศป.) ได้ย้ายมารวมกับ กองโรงเรียนทหาร ปืนใหญ่ที่โคกกระเทียม และแปรสภาพ เป็นแผนกปืนใหญ่กรมเสนาธิการทหารบก เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

  1. พ.ศ. 2488 แผนกปืนใหญ่กรมเสนาธิการทหารบกได้แปรสภาพเป็นกรมจเรทหารปืนใหญ่
  2. วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสนามยิงปืนใหญ่ โคกกระเทียม ซึ่งเป็นที่ตั้งกรมจเรทหารปืนใหญ่ว่า ค่ายพหลโยธิน
  3. 6 สิงหาคม พ.ศ. 2495 กรมจเรทหารปืนใหญ่ แปรสภาพเป็น กรมการทหารปืนใหญ่ขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารบก
  4. ปี พ.ศ. 2497 กรมทหารปืนใหญ่ได้แปรสภาพเป็นศูนย์การทหารปืนใหญ่ลง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงอาจกล่าวได้ว่า และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 คือวันเกิดของศูนย์การทหารปืนใหญ่อีกด้วย
ตึกกองบัญชาการ บนเขาน้ำโจน
  1. 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ค่ายพหลโยธินได้เปลี่ยนนามค่ายเป็น ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ค่ายภูมิพล[1]

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก