ประวัติ ของ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

จากการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร รัฐบาลไทยจึงมีมติให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติที่ได้มาตรฐานสากลขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว โดยกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย พร้อมกับใช้เทคนิค “สร้างและออกแบบ” (A “build and design” technique) เพื่อให้ศูนย์ประชุมของชาติแห่งแรกนี้สามารถเสร็จทันตามกำหนดเวลา

หลังจากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารบนพื้นที่ 20 เอเคอร์ ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2533 บรรดานักออกแบบกว่า 100 คน และคนงานก่อสร้างอีกกว่า 1,000 คน ต่างทุ่มเททำงานทั้งกลางวัน และกลางคืนเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534

จากความมุ่งมั่น และพยายามของทุกฝ่าย ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 16 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน ด้วยงบประมาณน้อยกว่าที่กำหนด ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นแล้วเสร็จในต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534

ในวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์การประชุม เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535

นับตั้งแต่เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รองรับผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 กว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 15 ตุลาคม 2534 ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจไมซ์ (MICE ย่อมาจาก Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions) ในประเทศไทยตลอดมา

กว่าสองทศวรรษที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้รองรับการจัดงานสำคัญมากมายทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับการยอมรับและไว้วางใจในฐานะศูนย์การประชุมแห่งชาติที่มีการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565[1]

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ http://maps.google.com/maps?ll=13.723992,100.55922... http://maps.google.com/maps?t=k&q=Thailand&ll=13.7... http://www.kirz.com http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7239... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaipr.net/exhibitionall.aspx?location=... http://www.globalguide.org?lat=13.723992&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.723992,100.559... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.qsncc.co.th/