ประวัติ ของ ศูนย์กีฬาแห่งชาติออลิมปีย์สกึย

หลังประเทศยูเครนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1991 สนามแห่งนี้ได้ใช้เป็นสนามประจำของฟุตบอลทีมชาติยูเครนและได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์กีฬาแห่งชาติออลิมปีย์สกึย (ริพับลิกันสเตเดียม) จึงทำให้สถานีรถไฟใต้ดินออลิมปีย์สกาที่อยู่ใกล้เคียงมีชื่อเรียกว่า "แรสปูบลือกันสกึยสตาดีออน" (Respublykanskyi Stadion)

ในปี 1997-1999 สนามได้มีการปรับปรุงใหม่ตามหลักเกณฑ์ของฟีฟ่าซึ่งทำให้สนามมีความจุลดลงเหลือ 83,450 ที่นั่ง

สนามแห่งนี้ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลดือนามอ แต่หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามใน ค.ศ. 1998 ทำให้สโมสรฟุตบอลดือนามอตัดสินใจย้ายออกไปสร้างสนามใหม่ชื่อสนามโลบานอว์สกีดีนาโมซึ่งเป็นสนามที่จุคนได้น้อยกว่า ซึ่งการย้ายสนามของสโมสรฟุตบอลดือนามอนี้ทำให้สนามนี้ถูกเซ็นสัญญาเช่ายืมโดยสโมสรฟุตบอลดือนามอกือยิวแทนแต่จะใช้แค่เกมส์ในบ้านหรือเกมส์ในทัวร์นาเมนต์ใหญ่เท่านั้น

สนามนี้ยังใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติยูเครนและเป็นสถานใช้ในการจัดทัวร์นาเมนต์หรือมหกรรมกีฬาของประเทศยูเครนหรือที่ยูเครนเป็นเจ้าภาพ เช่นยูเครเนียนคัพ, โอลิมปิกฤดูร้อน 1980, ฟุตบอลยูโร 2012 หรือการแข่งขันที่ฟีฟ่าขอใช้ เช่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2018

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศูนย์กีฬาแห่งชาติออลิมปีย์สกึย http://euro-2012news.com/news/514/fairytales-about... http://www.ua-football.com/ukrainian/high/4ee0d5d0... http://www.worldofstadiums.com/europe/ukraine/nsc-... http://www.football-match.de/dinamo-kiev-olimpiysk... http://www.kopanyi-myach.info/index.aspx?page=ec41... http://video.untc.net/euro-2012/en/cam2/high/ http://video.untc.net/euro-2012/en/cam3/high/ //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://nsc-olimpiyskiy.com.ua/en/ http://nsc-olimpiyskiy.com.ua/en/stadium/facts/