ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (อังกฤษ: National Center for Genetic Engineering and Biotechnology) หรือ ไบโอเทค เป็นศูนย์วิจัยด้านพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพในสังกัด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีพันธกิจหลักในการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม, การพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพ, การถ่ายทอดเทคโนโลยี, และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีชีวภาพ[2]ไบโอเทคจัดตั้งครั้งแรกตามมติคณะรัฐมนตรี ภายใต้ระบบราชการในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพแก่หน่วยงานในภาครัฐ โดยเฉพาะในสถาบันอุดมศึกษา และต่อมาได้เริ่มสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ และอุดหนุนการวิจัยขั้นปริญญาโท-เอก. ในปี พ.ศ. 2537 ได้เริ่มดำเนินการวิจัยเองในศูนย์ และในปี พ.ศ. 2538 ได้เปลี่ยนรูปแบบการสนับสนุน จากการสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการของตน มาเป็นการไปจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการของศูนย์ ณ สถาบันเครือข่ายแทน[3]ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มี ดร.วรรณพ วิเศษสงวน เป็นผู้อำนวยการ[4]

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ต้นสังกัด สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วันก่อตั้ง 20 กันยายน พ.ศ. 2526
งบประมาณ 772.68 ล้านบาท [1]
เอกสารหลัก รายงานประจำปี 2561
ผู้บริหารหลัก วรรณพ วิเศษสงวน, ผู้อำนวยการ
เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ, รองผู้อำนวยการ
นตพร จันทร์วราสุทธิ์, รองผู้อำนวยการ
ธีรยุทธ ตู้จินดา, รักษาการรองผู้อำนวยการ
จุฑามาส อุดมสรยุทธ, รักษาการรองผู้อำนวยการ
บุคลากร นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ 472 คน [1]
เจ้าหน้าที่ 78 คน [1]
ผู้บริหาร 20 คน [1]

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก