ประวัติศูนย์วิจัย ของ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา_มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีซากดึกดำบรรพ์มากมายหลายชนิด โดยข้อมูลจากกรมทรพยากรธรณีระบุว่า ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ใน 11 จังหวัด จาก 19 จังหวัดในภาคนี้ ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มีสถาบันการศึกษาใดที่ผลิตบุคลากรทางด้านบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงได้เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยมีความพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการรับบทบาทหน้าที่นี้ ทั้งในด้านการวิจัยค้นหาซากดึกดำบรรพ์ ในด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างบุคลากรทางด้านนี้ของประเทศ จึงได้มีการดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อจัดตั้งศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาขึ้น

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการประชุมครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2545 มีมติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการในรูปแบบการบริหาร เน้นการจัดการโดยใช้หลักประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีการเปิดหลักสูตรนานาชาติบรรพชีวินวิทยาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก สังกัดภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา

จากการดำเนินการทั้งหมดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เตรียมความพร้อมเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่เข้ามาสนใจในเรื่องบรรพชีวินวิทยา และเพื่อให้การดำเนินการมีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม การสนับสนุนด้านงบประมาณในระยะเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นโครงการนี้ จึงใคร่ขอเสนอแนะแผนการดำเนินการและงบประมาณที่ใช้ในเบื้องต้นและในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย และพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 กำหนดให้การบริหารและการดำเนินงานของส่วนงานภายในให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย[1]

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์การบินทหารบก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้