ประวัติ ของ ศูนย์วิทยพัฒนา_มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช_จังหวัดอุดรธานี

ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี แรกเริ่มก่อสร้างด้วยมหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณแผ่นดินในปี พ.ศ. 2531 เพื่อก่อสร้าง "ศูนย์วิทยบริการ" ขยายไปยังภูมิภาต่างๆของประเทศ

จนต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้เปิดให้บริการที่จังหวัดอุดรธานี ลำปาง พร้อมกันเป็นลำดับที่ 3 ของการขยายศูนย์วิทยบริการของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดดำเนินการทั้งหมด 10 แห่ง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์วิทยพัฒนา" ซึ่งหมายถึง "แหล่งพัฒนาความรู้" เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ศูนย์ฯ เป็นเสมือนตัวแทนของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค โดยมีขอบข่ายงานกว้างขวาง ทั้งการให้บริการแก่นักศึกษาทุกระดับที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย จึงจำเป็นต้องมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องประสานกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย

ซึ่งในปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง "สำนักวิทยพัฒนา" ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในอย่างไม่เป็นทางการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ ติดต่อประสานงาน ติดตามประเมินผล และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานของศูนย์วิทยพัฒนาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด[1]

คำว่า "ศูนย์วิทยพัฒนา" ไม่ได้หมายถึง วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย แต่เป็นเสมือนตัวแทนของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคกระจายตามภาคต่างๆ ของประเทศ ปัจจุบันมี 10 จังหวัด ได้แก่ ศูนย์ฯนครศรีธรรมราช นครสวรรค์ อุบลราชธานี เพชรบุรี สุโขทัย ลำปาง อุดรธานี ยะลา จันทบุรี และนครนายก

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก