ความสับสนทางในเรื่องศัพท์เทคนิค ของ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า จุดเกิดแผ่นดินไหวเพื่อใช้แทนคำว่า focus ของการเกิดแผ่นดินไหว[1] และอาจพบคำว่าศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว, ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ฯลฯ ในเอกสารบางเล่ม

ในภาษาอังกฤษอาจพบการใช้คำว่า hypocenter ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ว่า จุดใต้ศูนย์กลาง แทนคำว่า focus เนื่องจากจุดเกิดแผ่นดินไหวโดยทั่วไปเกิดลึกลงไปใต้ผิวโลก โดยใช้คำว่า epicenter แทนจุดบนผิวโลกซึ่งอยู่ในแนวดิ่งเดียวกับจุดเกิดแผ่นดินไหวนั้น ซึ่งในกรณีนี้ทางราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เพื่อใช้แทนคำว่า epicenter ไว้ คือ จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว[1]

อย่างไรก็ดีคำว่า hypocenter อาจใช้ในอีกความหมายหนึ่งในกรณีของการระเบิดกลางอากาศ (เช่นการระเบิดของนิวเคลียร์ หรือการระเบิดของวัตถุลอยฟ้า) เพื่อสื่อถึงตำแหน่งบนผิวโลก ณ จุดใต้การระเบิดนั้นเนื่องจากในกรณีนี้ ผิวโลกมีตำแหน่งอยู่ใต้ศูนย์กลางการเกิดระเบิด ในบริบทนี้อาจใช้คำว่า ground zero แทนคำว่า hypocenter

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก