ประวัติ ของ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก_โรงพยาบาลตรัง

ในข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ณ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ)และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เมื่อ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ส่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อขอการรับรองจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และคณะกรรมการจากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยได้มาประเมินมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โรงพยาบาลศูนย์ตรัง และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เมื่อวันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ต่อมาได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันพี่เลี้ยงโดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยลักษณ์ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยนักศักษาแพทย์ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้นจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการของแพทยสภา เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแพทยสภา เพื่อการรับรองหลักสูตรเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 แพทยสภาได้แจ้งผลการพิจารณารับรอง หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ใกล้เคียง

ศูนย์ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในประเทศไทย ศูนย์การค้า ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การบินทหารบก