ความหลากชนิดของพรรณไม้สกุลกฤษณา ของ สกุลกฤษณา

ไม้ในสกุลกฤษณามีลำต้นขนาดปานกลาง แต่ถ้ามีอายุมากจะมีลำต้นขนาดใหญ่เป็นไม้เนื้อค่อนข้างอ่อน แต่เมื่ออายุมากแล้ว จะมีลักษณะเนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง สีเหลืองมีลายสวยงาม เปลือกลอกง่าย ลำต้นตรง สีค่อนข้างแดงผิวเป็นเม็ดตุ่มเล็ก ๆ สีแดง-ดำ เทา เขียวอ่อน เป็นไม้โตเร็ว

ปัจจุบันสกุลกฤษณามีพรรณไม้ทั้งหมด 16 ชนิด ตามข้อกำหนดการประชุมกฤษณาโลกครั้งที่ 1 ประเทศเวียดนาม ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • Aquilaria apiculata Merr., 1922 แหล่งที่พบคือ ฟิลิปปินส์
  • Aquilaria baillonil แหล่งที่พบคือ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม
  • Aquilaria banneonsis แหล่งที่พบคือ เวียดนาม
  • Aquilaria beccarian Tiegh. 1893 แหล่งที่พบคือ อินโดนีเซีย
  • Aquilaria brachyantha (Merr.) Hallier f. แหล่งที่พบคือ มาเลเซีย
  • Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte, 1915 แหล่งที่พบคือ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม
  • Aquilaria cumingiana (Decne.) Ridl., det. Ding Hou, 1959 แหล่งที่พบคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
  • Aquilaria filaria (Oken) Merr., 1950 แหล่งที่พบคือ นิวกินี จีน
  • Aquilaria grandiflora Benth., 1861 แหล่งที่พบคือ จีน
  • Aquilaria hilata แหล่งที่พบคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
  • Aquilaria khasiana แหล่งที่พบคือ อินเดีย
  • Aquilaria malaccensis Lam., 1783, ชื่อพ้อง A. agallocha และ A. secundaria แหล่งที่พบคือ ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย
  • Aquilaria microcarpa Baill. แหล่งที่พบคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
  • Aquilaria rostrata แหล่งที่พบคือ มาเลเซีย
  • Aquilaria sinensis Gilg, 1894 แหล่งที่พบคือ จีน
  • Aquilaria subintegra Ding Hou แหล่งที่พบคือ ไทย

ชนิดพรรณไม้สกุลกฤษณาชนิดพื้นเมืองในประเทศไทยมี 5 ชนิด คือ

  1. Aquilaria subintegra หรือ "พันธุ์จันทบุรี" เป็นชนิดไม้ที่ให้คุณภาพน้ำมันสูง พบในภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด โดยเฉพาะที่เขาสอยดาว)[1] และจังหวัดปัตตานี
  2. Aquilaria crassna หรือ "พันธุ์เขาใหญ่" เป็นชนิดไม้ที่ให้คุณภาพน้ำมันค่อนข้างสูงและปริมาณน้ำมันค่อนข้างมาก พบทั้งในภาคกลาง (จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครนายก โดยเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ) และภาคเหนือ (จังหวัดเชียงราย แพร่ และน่าน)[1]
  3. Aquilaria malaccensis เป็นชนิดไม้ที่ให้คุณภาพน้ำหอมและปริมาณน้ำหอมปานกลาง พบบริเวณตอนใต้ของไทย เช่น จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง กระบี่ ตรัง พัทลุง ปัตตานี รวมทั้งตลอดแนวตามรอยตะเข็บชายแดนไทย-พม่าขึ้นไปจนถึงรัฐอัสสัมและภูฏาน
  4. Aquilaria hirta วิสัยเป็นไม้พุ่มที่ไม่ให้น้ำมัน ยังไม่พบการใช้เนื้อไม้หอมชนิดนี้ในไทย พบในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างและแหลมมลายู
  5. Aquilaria rugosa วิสัยเป็นไม้ต้นขนาดกลางพบกระจายอยู่ในไทยและ[เวียดนาม มีรายงานพบเนื้อไม้หอมในเนื้อไม้ชนิดนี้เช่นกัน แต่เป็นไม้ต้นหายาก ทำให้ไม่พบแพร่นัก ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายพันธุ์อยู่ตามภูเขาสูงในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง อุตรดิตถ์ จึงมีชื่อเรียกว่า "กฤษณาดอย"