สกุลหมูป่าหน้าหูด
สกุลหมูป่าหน้าหูด

สกุลหมูป่าหน้าหูด

สกุลหมูป่าหน้าหูด สัตว์กีบคู่จำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Phacochoerinae และสกุล Phacochoerus ในวงศ์หมู (Suidae) หมูป่าหน้าหูด มีลักษณะแตกต่างจากหมูป่าทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ มีลักษณะตัวโต หน้าแบนกว้าง ตาเล็ก มีจุดเด่นคือใต้ตาทั้งสองข้างมีก้อนเนื้อคล้ายหูดขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ มีเขี้ยวโง้งออกมานอกปากเห็นชัดเจน ซึ่งเขี้ยวนี้จะใหญ่กว่าหมูป่าทั่วไป ประโยชน์ของการมีหูดนี้คือ ช่วยป้องกันใบหน้าและดวงตาเมื่อต่อสู้กัน อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างเพศอีกด้วย โดยในตัวผู้จะมีทั้งหูดและเขี้ยวโง้งยาวกว่าตัวเมีย เขี้ยวของตัวผู้จะมีเขี้ยวด้านบนถึงสองเขี้ยว มีความยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร[2] ซึ่งนอกจากใช้ต่อสู้แล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการขุดหาอาหารได้อีกด้วย ซึ่งจากหมูจำพวกอื่น[3]หมูป่าหน้าหูด มีขนสาก ๆ ปกคลุมตัว แต่เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นว่าส่วนคอไปจนถึงใบหน้าจะไม่มีขน แต่จะมีขนแผงหลังไปจนถึงส่วนหัว หมูป่าหน้าหูดขุดกินอาหารจำพวกพืชเป็นหลัก เช่น หน่อไม้, รากพืชต่าง ๆ ตลอดจนถึงสัตว์ขนาดเล็ก ๆ ด้วย[4] แม้จะมีรูปร่างลักษณะน่าเกรงขาม แต่หมูป่าหน้าหูดกลับมีอุปนิสัยขี้ตื่นตกใจและขี้ขลาดกว่าหมูป่าธรรมดา เมื่อพบกับศัตรูมักจะเป็นฝ่ายวิ่งหนีมากกว่าสู้ [3]พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่เปิดโล่งของทวีปแอฟริกา นับตั้งแต่ส่วนแอฟริกาใต้สะฮาราลงไป

ใกล้เคียง