กระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์ ของ สตาบัลลอย

ในทางการทหาร สตาบัลลอยเป็นโลหะผสมที่มียูเรเนียมด้อยสมรรถนะในสัดส่วนที่สูงผสมกับโลหะอื่น ๆ ซึ่งโดยปกติจะเป็นไททาเนียมหรือโมลิบดีนัม ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในกระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์ สูตรผสมอาจมีส่วนประกอบของยูเรเนียมด้อยสมรรถนะ 99.25% และไททาเนียม 0.75% ขณะที่บางสูตรอาจมีไททาเนียมผสมได้ถึง 3.5% สตาบัลลอยมีความหนาแน่นมากกว่าตะกั่วประมาณ 65%

ทางเลือกอื่นนอกจากการใช้สตาบัลลอยในกระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์คือการใช้โลหะผสมทังสเตน แต่วัสดุมีราคาแพงกว่า ยากต่อการขึ้นรูปมากกว่า และไม่เป็นวัสดุไพโรโฟริก ดังนั้นกระสุนจึงไม่ก่อให้เกิดเปลวเพลิงหลังกระทบเป้าหมาย กระสุนเจาะเกราะจากโลหะผสมทังสเตนยังมีแนวโน้มที่ส่วนปลายจะบานออกเป็นรูปเห็ดระหว่างการเจาะเกราะ ในขณะที่โลหะผสมยูเรเนียมมักจะสามารถรักษาทรงแหลมของหัวกระสุนไว้ได้[1]

โลหะผสมจากยูเรเนียมด้อยสมรรถนะที่เกิดขึ้นใหม่อีกชนิดคือ สตากัลลอย (อังกฤษ: stakalloy) ซึ่งสร้างจากไนโอเบียม (ร้อยละ 0.01–0.95 โดยน้ำหนัก), วานาเดียม (ร้อยละ 1–4.5 โดยน้ำหนัก ระหว่างปฏิกริยาแบบแกมมา-ยูเทกตอยด์ และยูเทกติก) และยูเรเนียม (สมดุล) ซึ่งมีการปรับปรุงความสามารถในการขึ้นรูป และสามารถประยุกต์ใช้ในงานโครงสร้างได้[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: สตาบัลลอย http://www.cscb.ca/050/rs_prev_e.cfm?ID=6165 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15172592 http://www.pdhealth.mil/downloads/Characterisation... //doi.org/10.1016%2FS0048-9697(03)00401-7 http://www.globalsecurity.org/military/systems/mun... http://techlinkcenter.org/patents/6726876 https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2004ScTEn.327..3... https://web.archive.org/web/20070928135546/http://... https://web.archive.org/web/20070929162619/http://... https://web.archive.org/web/20160820075033/http://...