ประวัติ ของ สถานีกลางเบอร์ลิน

ด้านนอกของอาคารสถานีเลอร์เตอร์เดิม ปี 1879สถานีเลอร์เตอร์ใน ปี 1879, แสดงให้เห็นส่วนอู่ชานชาลาAttention passengers! Last stop in the direction of the Soviet sector.Berlin Hauptbahnhof Ostseite HDRBerlin Hauptbahnhof has railway tracks on two levels, running perpendicular with each other. The level between them is used for entry and exit from the building, and for shopping.

สถานีเลอร์เตอร์ (Lehrter Bahnhof) เปิดตัว ณ กรุงเบอร์ลิน, โดยตั้งอยู่ใกล้ๆกับสถานีฮัมบวร์เคอร์ (Hanburger Bahnhof), ในปี ค.ศ. 1871 ในฐานะสถานีปลายทางเชื่อมต่อกรุงเบอร์ลิน กับเลิร์ต (Lehrte) อันเป็นเมืองเล็กๆใกล้กับเมืองฮันโนเฟอร์ และต่อมาทางรถไฟยาว 239 กิโลเมตรนี้กลายเป็นทางรถไฟหลักสายตะวันออก-ตะวันตก ที่สำคัญที่สุดในเยอรมนี ตัวสถานีถูกออกแบบตามสไตล์ นีโอ-เรอเนสซองซ์ แบบฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการฉีกสไตล์ไปจากอาคารก่ออิฐแดงที่นิยมกันในสมัยนั้น แต่เพราะเงินทุนที่จำกัด พื้นผิวตกแต่งอาคารจึงไม่ได้ทำด้วยหินตามแผนที่วางไว้แต่ใช้กระเบื้องเคลือบแทน ถึงกระนั้นก็ยังมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจนได้รับการยกย่องว่าเป็น "สถานีรถไฟที่งามดุจราชวัง"

พอถึงปี 1882 ได้มีการสร้างเส้นทางรถไฟสายนครเบอร์ลิน หรือ ชตาดท์บาห์น (Berlin Stadtbahn) ขึ้นในเบอร์ลินโดยเป็นรางแบบยกระดับ 4 ราง พาดผ่านทางตอนเหนือของสถานี (ซึ่งภายหลังได้พัฒนามาเป็นทางรถไฟ เอส-บาห์น (S-Bahn)) และเกิดสถานีเชื่อมต่อขนาดย่อม Lehrter Stadtbahnhof ขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางใหม่ การขยายตัวและการเพิ่มบทบาทของสถานีเลอร์เตอร์ ทำให้สถานีนี้มีบทบาทเข้ามาแทนที่สถานีฮัมบวร์เคอร์ซึ่งปิดตัวลงในปี 1884 เมื่อเส้นทางไปฮัมบวร์คทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี กับสแกนดิเนเวียถูกเปลี่ยนไปหาสถานีเลอร์เตอร์แทน ต่อมาเส้นทางเบอร์ลิน-เลอร์ต ถูกแปรรูปให้เป็นรัฐวิสาหกิจ และเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของการรถไฟแห่งชาติปรัสเซียใน ปี 1886

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอาคารสถานีได้รับความเสียหายอย่างหนัก เมื่อสงครามจบลงตัวโครงอาคารได้รับการซ่อมแซมให้ใช้การได้ชั่วคราว แต่การแบ่งแยกประเทศเยอรมนีภายหลังสงครามโลกก็ทำให้เส้นทางหลักๆต้องปิดการให้บริการลง จึงไม่มีโครงการจะบูรณะสถานีต่อไปอีก สถานนีเลอร์เตอร์จึงเป็นอันต้องถูกทำลายลงโดยการทุบทำลายโครงสร้างใช้เวลา 2 ปี (1957 - 1959) ส่วนสถานีเชื่อมต่อทางรถไฟสายนครเบอร์ลิน (Lehrter Stadtbahnhof) นั้นได้เปลี่ยนสถานะไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเอ็ส-บาห์น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 โดยเปลี่ยนไปใช้ระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า แต่แม้จะไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม สถานี Lehrter Stadtbahnhof ก็ถูกผลกระทบของการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินทำให้มีขอบเขตการให้บริการที่จำกัด โดยเครือข่าย เอ็ส-บาห์น ทั้งหมดตกไปอยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟเยอรมนีตะวันออก (Deutsche Reichsbahn) ทำให้ประชากรจำนวนมากในฝั่งเบอร์ลินตะวันตกบอยค็อตไม่ใช้บริการ เอ็ส-บาห์น อยู่จนกระทั่งทศวรรษที่ 1980 เมื่อเบอร์ลินตะวันตกได้รับมอบสิทธิบริหารจัดการเส้นทาง เอ็ส-บาห์น สายเบอร์ลินตะวันตกเอง สถานี Lehrter Stadtbahnhof ที่รอดภัยสงครามมาถูกขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถาน

แต่ในปี ค.ศ. 2002 สถานี Lehrter Stadtbahnhof ก็ถูกกำหนดให้โดนทำลายเพื่อเปิดทางให้มีการก่อสร้างสถานีกลาง (Hauptbahnhof) แห่งใหม่ ซึ่งถูกวางแปลนมาตั้งแต่ปี 1992 ให้สร้างขึ้นบนพื้นที่เก่าของสถานีเลอร์เตอร์เดิม (Lehrter Bahnhof) ซึ่งทั้งใกล้กับสถานที่ราชการในเมืองเบอรลิน และยังไม่มีคนอยู่อาศัยแออัดมาเกินไป โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 1995 จนการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2006

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีกลางเบอร์ลิน http://www.transportes.gov.br/public/arquivo/arq13... http://www.bahn.com/i/view/USA/en/services/overvie... http://www.theguardian.com/world/2013/apr/03/secon... http://reiseauskunft.bahn.de/bin/bhftafel.exe/en?r... http://www.bahn.de/p/view/mdb/bahnintern/fahrplan_... http://www.bahnhof.de/?lang=en#station/17620 http://www.hbf-berlin.de/site/berlin__hauptbahnhof... http://www.isnichwahr.de/redirect11161.html http://en.structurae.de/structures/data/index.cfm?... http://en.structurae.de/structures/data/index.cfm?...