รายละเอียดสถานี ของ สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตันเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางของรถไฟฟ้าสามสายมากว่า 7 ปี สถานีในส่วนของแต่ละสายจะแยกออกจากกัน และการจำหน่ายบัตรโดยสารจะแยกระบบกัน แต่มีสะพานเชื่อมในแต่ละส่วน

ที่หยุดรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม

ชานชาลาฝั่งเหนือของที่หยุดรถไฟบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ในส่วนของรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม มีลักษณะเป็นที่หยุดรถ ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมือง สายเซอเริมบัน เปิดให้บริการครั้งแรกวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 มีทางเข้าสถานีจากฝั่งถนนวงแหวนที่สอง (MRR2) ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากนัก ลักษณะทางรถไฟเป็นทางคู่ มีชานชาลาด้านข้าง 2 แห่ง และสะพานลอยข้าม เนื้อที่ตัวสถานีค่อนข้างคับแคบ

ในปี ค.ศ. 2006-2007 มีการปรับปรุงตัวสถานีครั้งใหญ่ โดยการขยายพื้นที่จำหน่ายตั๋ว และการถมชานชาลาให้สูงขึ้นกว่าเดิม

สถานีรถไฟฟ้าสายอัมปัง

ชานชาลาฝั่งเหนือของสถานีรถไฟฟ้าสายอัมปัง

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตันในสายย่อยซรีเปอตาลิง เป็นสถานีระดับดิน เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่หยุดรถไฟชานเมือง โดยการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้ สามารถใช้ทางเข้าร่วมกับที่หยุดรถไฟชานเมืองได้

สถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้มีความสามารถในการรับผู้โดยสารได้มากกว่าที่หยุดรถไฟชานเมือง สิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ช่องจำหน่ายตั๋ว และเครื่องตรวจบัตรโดยสาร ชานชาลาเป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง มีสะพานลอยเชื่อมไปยังที่หยุดรถไฟชานเมือง

สถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์

ภาพมุมสูงของสถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน (รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ) จากฝั่งใต้ ในภาพนี้ จะเห็นขบวนรถไฟฟ้าด่วนวิ่งผ่านสถานี

สถานีบันดาร์ตาซิก์เซอลาตัน ในส่วนของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2002 เป็นหนึ่งใน 5 สถานี ที่รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ แทรนสิต หยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร สถานีแห่งนี้มีทางเดินเชื่อมต่อกับที่หยุดรถไฟชานเมือง และสถานีรถไฟฟ้าสายอัมปัง ตัวสถานีตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่หยุดรถ สามารถเข้าถึงสถานีได้จากถนนสายย่อยของทางพิเศษซูไงเบอซี

สถานีรถไฟฟ้าแห่งนี้มีชานชาลาเกาะกลาง 2 แห่ง ทางรถไฟ 4 ทาง และช่องจำหน่ายตั๋ว มีสะพานลอยความยาว 95 เมตร ข้ามชานชาลา

สถานีขนส่งผู้โดยสาร

ในแผนพัฒนามาเลเซียที่เก้า มีโครงการที่จะสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารบริเวณนี้[1] อาคารผู้โดยสารใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 570 ล้านริงกิต เริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2013[2]

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)