สัญญาการก่อสร้าง ของ สถานีภาวนา

สัญญาการก่อสร้างของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ โดยสัมปทานเป็นของบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (Eastern Bangkok Monorail; EBM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดิม) ระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน) และดำเนินการงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี ซึ่งมีรายละเอียดของสัญญาดังนี้

ลำดับที่เนื้องานความคืบหน้า
(ณ สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)[5]
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า74.23 %
1.1งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับทั้งโครงการ
ระยะทาง 32 กม. (19.88 ไมล์)
งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร
77.97 %
1.2งานปรับปรุงสะพานข้ามแยกบางกะปิ
1.3งานปรับปรุงโครงสร้างสะพานข้ามคลองแสนแสบ
1.4งานก่อสร้างสะพานข้ามแยกพรีเมียร์
1.5งานก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยกพัฒนาการ
1.6งานรื้อย้ายและก่อสร้างอาคารและระบบสาธารณูปโภคภายในพื้นที่บริเวณแขวงทางหลวงสมุทรปราการ
1.7งานปรับปรุงระบบระบายน้ำบนถนนศรีนครินทร์
1.8งานปรับแก้โครงการตามที่ถูกร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่
1.9งานจัดหาระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
69.35 %
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถอย่างเป็นทางการ

โดยอ้างอิงถึงสัญญาว่าด้วยความเข้าใจของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการ ผู้ร่วมทุนแต่ละรายจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้นำการประมูลของกลุ่มตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารเงื่อนไขในการเข้าประมูล และรับผิดชอบงานจัดหา ติดตั้ง และซ่อมบำรุงระบบเครื่องกล ขบวนรถไฟฟ้า ตลอดจนบริหารโครงการรถไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว
  2. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างงานโยธาของโครงการแต่เพียงผู้เดียว
  3. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการติดตั้งระบบไฟฟ้า และระบบเครื่องกล

ทั้งนี้สัญญาว่าด้วยความเข้าใจของ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ จะสิ้นสุดลง ณ วันที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานโครงการ

ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา

ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ
  • บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
  • บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท บางกอก เพย์เมนต์ โซลูชันส์ จำกัด
บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง
  1. บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
  2. บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนส์ จำกัด
  3. บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
  4. บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนส์ จำกัด
  5. บริษัท ไอที อินเตอร์เนชันแนล จำกัด
  6. บริษัท ดับเบิลยูเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด

งบประมาณ

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีมูลค่ารวม 51,810 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,013 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 23,206 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 22,591 ล้านบาท โดยกลุ่มบีเอสอาร์ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 25,050 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 26,760 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจากธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท