ประวัติ ของ สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์

สถานีเก่า

ก่อนที่จะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ เคยมีสถานีรถไฟหลักอยู่ 2 แห่ง ในกัวลาลัมเปอร์

สถานีรถไฟแห่งแรก มีชื่อว่า สถานีเรสซิเดนต์ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับย่านที่พักอาศัยของชาวอังกฤษ และตั้งอยู่ตรงข้ามกับเซอลาโงร์คลับ ตัวอาคารทำมาจากไม้ และหลังคาทำมาจากใบจาก สถานีรถไฟแห่งนี้ เป็นสถานีรถไฟแห่งในกัวลาลัมเปอร์ มีรถไฟเชื่อมต่อระหว่างกัวลาลัมเปอร์ กับเมืองกลัง ซึ่งเปิดทำการครั้งแรกวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1886

สถานีรถไฟแห่งที่สอง มีชื่อว่า สถานีถนนสุลต่าน ก่อสร้างในปี ค.ศ. 1892 บนถนนฟอช (ปัจจุบันคือถนนตุนตันเชิงลอก) ตั้งอยู่ใกล้กับเมย์แบงกก์ทาวเวอร์ และสถานีขนส่งผู้โดยสารปุตุรายา รูปแบบอาคารสถานีค่อนข้างกับของสถานีเรสซิเดนต์ สถานีนี้ตั้งอยู่บนสายปุดุ ซึ่งเป็นทางรถไฟยังย่านอัมปัง

สถานีเรสซิเดนต์ถูกรื้อทิ้ง หลังจากที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ก่อสร้างเสร็จ และสถานีถนนสุลต่าน ก็ถูกรื้อทิ้งในปี ค.ศ. 1960 ส่วนทางรถไฟสายอัมปังในอดีตนั้น ก็ได้กลายมาเป็นรถไฟฟ้ารางเบา สายอัมปัง ในปัจจุบัน

การก่อสร้าง และการเปิดใช้งาน

บริเวณด้านหน้าอาคารสถานี มีสถาปัตยกรรมคล้ายกับมัสยิดยาเม็ก

อาเธอร์ เบนิสัน ฮับแบค สถาปนิกชาวอังกฤษ ได้ทำการออกแบบอาคารสถานีนี้ขึ้น โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบแองโกล-เอเชีย ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับที่ใช้สร้างมัสยิดยาเม็ก การก่อสร้างใช้เงิน 23,000 ดอลลาร์ช่องแคบ ตัวสถานีก่อสร้างเสร็จในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1910 ภายหลังจากที่มีการรื้อสถานีเรสซิเดนต์ กับสถานีถนนสุลต่านแล้ว สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ จึงกลายเป็นสถานีรถไฟหลักของกัวลาลัมเปอร์ สถานีรถไฟแห่งนี้ มีโรงแรมอยู่ภายในตัวสถานี ชื่อว่า โรงแรมสถานี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมสถานีมรดก) ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 ได้มีการเปิดใช้งานรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม ซึ่งได้ผ่านสถานีนี้ด้วย

ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 2001 ได้มีการย้ายสถานีรถไฟหลักไปที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (เคแอลเซ็นทรัล) ทำให้สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ถูกลดความสำคัญลง สถานีนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการปรับระดับชานชาลาให้สูงพอดีกับประตูรถ

การปรับปรุงและพัฒนา

แบบจำลองตู้โดยสารรถไฟในอดีต ภายในอาคารสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์

ตัวสถานีได้มีการปรับปรุงหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีกอาคารฝั่งเหนือถูกใช้เป็นที่ทำการสถานีในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งต่อมาได้ปิดตัวลง ในปี ค.ศ. 1986 ตัวอาคารสถานีได้ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ รวมถึงการปรับปรุง "โรงแรมสถานีมรดก" ด้วย นอกจากนี้ยังได้ทำการสร้างส่วนต่อขยายจากปีกอาคารฝั่งใต้ด้วย

ในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งเป็นปีที่รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม (สายเซอเริมบัน และสายพอร์ตกลัง) เปิดใช้งาน ทางสถานีได้ทำการติดตั้งเครื่องตรวจบัตรโดยสาร และได้การถมชานชาลาให้สูงขึ้น เพื่อให้พอดีกับระดับประตูรถไฟฟ้า

ในปี ค.ศ. 2001 หลังจากที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์เปิดใช้งาน รถไฟระหว่างเมืองทุกขบวน ได้ถูกยกเลิกการหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์แห่งนี้

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)