ประวัติสถานีรถไฟน้ำตก ของ สถานีรถไฟน้ำตก

สถานีรถไฟน้ำตก เดิมชื่อ ''สถานีท่าเสา' สร้างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรกวันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2501 หรือคริสต์ศักราช 1958 ในช่วงที่ 3 ของการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายน้ำตก(หนองปลาดุก-น้ำตก)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 การก่อสร้างรถไฟสายไทยพม่า(ทางรถไฟสายมรณะ)

ในสมัยนั้นสถานีรถไฟน้ำตกยังไม่เกิดขึ้น แต่เป็นหนึ่งในสถานีรถไฟในอนาคตของการฟื้นฟูทางรถไฟสายหนองปลาดุก - น้ำตก ในยุคหลังต่อมา โดยช่วงนั้นทางประเทศไทยยอมให้จักรวรรดิญี่ปุ่นโดยปริยาย เพื่อขอสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า เพื่อขนส่งยุทโธปกร เสบียงและอาวุธ เพื่อให้กองทัพแนวหน้าของญี่ปุ่นที่ทำสงครามอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตรประเทศอังกฤษที่ชายแดนประเทศพม่า-อินเดียโดยรัฐบาลญี่ปุ่นยืมเงินจากรัฐบาลไทยจำนวน 4 ล้านบาท การก่อสร้างใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรที่เกณฑ์จากสิงคโปร์และกรรมกรชาวเอเชีย ที่กองทัพญี่ปุ่นนำมาเพื่อมาสร้างใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า[2]

การแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ของจักรวรรดิญี่ปุ่น

หลังการพ้ายแพ้สงครามทางฝ่ายสัมพันธมิตรของอังกฤษได้ยึดและรื้อทางรถไฟสายนี้ออก โดยทางรัฐบาลไทยได้จ่ายเงินจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อซื้อทางรถไฟสายนี้จากอังกฤษ และทำการซ่อมบำรุงบางส่วนของเส้นทางดังกล่าว เพื่อเปิดการเดินรถตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกจนถึงสถานีน้ำตก ส่วนเส้นทางที่เหลือจากสถานีน้ำตกไทรโยคน้อย - สถานีรถไฟด่านพระเจดีย์สามองค์ ยากต่อการฟื้นฟูจากภูมิประเทศ และบางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ์

การฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก-สถานีรถไฟน้ำตก และการก่อสร้างสถานีรถไฟน้ำตก

การฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-น้ำตกใหม่ก่อให้เกิดสถานีรถไฟที่มากขึ้น สำหรับการคมนาคมของคนในท้องถิ่นซึงต่างจากสมัยสงคามโลกครั้งที่2 โดยการฟื้นฟูช่วงแรกจากสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก - สถานีรถไฟกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร ได้แล้วเสร็จเปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ช่วงที่ 2 สถานีรถไฟกาญจนบุรี - สถานีรถไฟวังโพ ระยะทาง 61 กิโลเมตร โดยในช่วงนี้มีสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำแควใหญ่ สะพานเลียบแม่น้ำแควน้อย และภูเขาถ้ำกระแซ ที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นฟู โดยแล้วเสร็จและเปิดการเดินรถเมื่อเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 และช่วงที่ 3 ส่วนที่เหลืออีก 16 กิโลเมตร จากสถานีรถไฟวังโพ - สถานีรถไฟน้ำตก(สถานีรถไฟท่าเสา เดิม)นั้นได้สร้างพร้อมกับทางรถไฟช่วงที่ 2 แต่เนื่องจากการปรับปรุงสะพานเหล็กตอนถ้ำชะนีและฟื้นฟูทางบริเวณผ่านหน้าผาอย่างยากลำบาก จึงได้ล่าช้ากว่ากำหนด แล้วเสร็จจึงได้เปิดการเดินรถอย่างเป็นทางการตลอดสายเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีการสร้างป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อยเพื่อเป็นการโปรโมท์การท่องเที่ยวอีกด่วย ซึ่งปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นอนุสรณ์ของโลกที่จารึกความโหดร้ายทารุณของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นอนุสรณ์แก่ผู้เสียชีวิตในสงคราม แล้วยังเป็นเส้นทางรถไฟสำหรับท่องเที่ยวระดับต้นๆอีกด้วยเมื่อมีการพูดถึง[3]

การเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟน้ำตก

จากการกล่าวข้างต้นว่าสถานีรถไฟน้ำตกนั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟช่วงหนองปลาดุก-น้ำตก ซึ่งไม่ใช่สถานีรถไฟไฟเดิมจากสงครมโลกครั้งที่2 โดยปกติแล้วการตั้งชื่อสถานีรถไฟนั้นจะตั้งจากชื่อของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยในช่วงแรกสถานีรถไฟน้ำตก ได้ใช้ชื่อว่าสถานีรถไฟท่าเสา แต่ยังไม่มีการเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งเมื่อ 8 เมษายน พ.ศ. 2496 ตามคำสั่งที่ก.113/3050 ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสถานีรถไฟน้ำตกและเปิดเดินรถเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 สาเหตุเนื่องจากชื่อสถานีรถไฟท่าเสาเดิมคล้องกับสถานีรถไฟท่าเสา(ที่หยุดรถไฟท่าเสา ในปัจจุบัน) ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถในเส้นทางสายเหนือ และเพื่อให้คล้องกับสถานที่ไกล้เคียงของสถานีรถไฟน้ำตก คือน้ำตกเขาพัง ที่ห่างจากสถานีประมาณ 1 กิโลเมตร จึงใช้ชื่อว่าน้ำตกที่ใช้จนถึงปัจจุบัน[4]

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีรถไฟน้ำตก http://maps.google.com/maps?ll=14.232534,99.066679... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=14.2325... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Cont... http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=14.232534&long=99.0... http://www.wikimapia.org/maps?ll=14.232534,99.0666... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.railway.co.th/WebDestination/#/search-r... https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%AA%E0%B...