ประวัติ ของ สถานีวิทยุ_อสมท_โมเดิร์นเรดิโอ

สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด

ในระยะก่อนที่จะเปิดสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บจก.ไทยโทรทัศน์ ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทย โดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ดำเนินการจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.ขึ้นเพื่อระดมทุนสำหรับการบริหารงาน และฝึกบุคลากรต่างๆ ของบริษัทฯ รวมทั้งเตรียมงานด้านอื่นไปพร้อมกันด้วย โดยมีอาคารที่ทำการสถานีฯ ตั้งอยู่บริเวณแยกคอกวัว และเริ่มส่งกระจายเสียงเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2497 โดยในช่วงแรกเริ่ม เปิดการกระจายเสียงในระบบเอเอ็ม 2 ความถี่คือ 1143 และ 1494 กิโลไซเกิล (กิโลเฮิร์ตซ์)

ทั้งนี้ ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2506 ระบุว่ามีการกระจายเสียง ในสามคลื่นความถี่ระบบเอฟเอ็ม จำแนกด้วยชื่อสามรูปแบบว่า ภาคปกติ (เอฟเอ็ม 100.5 เมกะไซเกิล[1] ส่งกระจายเสียงทุกวัน 06:00-23:00 น.), ภาคเพลินเพลง (เอฟเอ็ม 95.0 เมกะไซเกิล ส่งกระจายเสียงทุกวัน 17:00-22:00 น.), และภาคเอฟเอ็มเฉพาะ (เอฟเอ็ม 96.5 เมกะไซเกิล ส่งกระจายเสียงทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ 11:00-14:00 น. และ 17:00-23:00 น., เสาร์และอาทิตย์ 11:00-23:00 น.)[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 มีการนำระบบกระจายเสียง "เอฟเอ็ม สเตอริโอ มัลติเพล็กซ์" มาใช้เป็นครั้งแรก ผ่านความถี่ 95.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี สมัยที่นำโดย นายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. สิ้นสุดลงพร้อมกันด้วย

สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 เพื่อรับโอนกิจการ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. มาดำเนินการต่อ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 โดยในระยะแรก ยังคงใช้ชื่อเดิมไปพลางก่อน ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. และเริ่มออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีแรกของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]

สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ

ราวกลางปี พ.ศ. 2545 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น มีนโยบายในการจัดรูปองค์กรใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งแปรรูปเป็น บมจ.อสมท โดยในส่วนของสถานีวิทยุกระจายเสียง มีการเปลี่ยนชื่อหลักของสถานีฯ เป็น สถานีวิทยุแห่งความทันสมัย (โมเดิร์นเรดิโอ) และเริ่มเปลี่ยนชื่อสถานีวิทยุ ระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 107.0 เมกะเฮิร์ตซ์ เป็น "โมเดิร์น เรดิโอ 107 เมโทรโพลิส" (Modern Radio 107 Metropolis) จากนั้นจึงเริ่มทยอยยุติการต่อสัญญา สัมปทานคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. เพื่อนำคลื่นความถี่ทั้งหมดกลับมาบริหารจัดการเอง

โดยแต่ละความถี่ จะมีรูปแบบรายการ และลักษณะเฉพาะ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ที่มุ่งเน้นตามนโยบาย สถานีวิทยุแห่งความทันสมัย หรือโมเดิร์นเรดิโอ และส่วนภูมิภาค จะแบ่งโครงสร้างการบริหาร ออกเป็นสองลักษณะคือ ทางสถานีฯ ดำเนินการบริหาร และผลิตรายการเองทั้งหมด กับการให้บริษัทเอกชนเช่าเวลา เพื่อผลิตรายการและกระจายเสียงเอง

สถานีวิทยุ อสมท MCOT Radio Network

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 สถานีวิทยุ โมเดิร์นเรดิโอ ของ อ.ส.ม.ท ได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น วิทยุ อ.ส.ม.ท. MCOT Radio Network จนถึงปัจจุบัน เน้นสถานีเครือข่ายวิทยุ ครอบคลุมผู้ฟังทั่วประเทศ และก้าวสู่ขยายช่องทางไปสื่ออื่นๆพร้อมกัน

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีวิทยุ_อสมท_โมเดิร์นเรดิโอ //scholar.google.com/scholar?q=%22%E0%B8%AA%E0%B8%... //www.google.com/search?&q=%22%E0%B8%AA%E0%B8%96%E... //www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%22%E0%B... //www.google.com/search?q=%22%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0... //www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B8%AA%E... http://pantip.com/topic/32233546 http://mcot-web.mcot.net/met107 http://mellow975.mcot.net/ http://radio.mcot.net http://radio.mcot.net/fm1005