ประวัติ ของ สถานีวิทยุกระจายเสียงประชาชนกลางแห่งประเทศจีน

โครงสร้างพื้นฐานเริ่มต้นด้วยเครื่องส่งสัญญาณจากมอสโกเพื่อตั้งสถานีแรกในหยานอัน (延安) ใช้สัญญาณเรียกขาน XNCR ("New China Radio") ในการออกอากาศ และเป็นสถานีวิทยุแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี พ.ศ. 2483[1]

ในภูมิภาคทางตะวันตก สถานีนี้เป็นที่รู้จักในชื่อสถานีวิทยุหยานอันซินหัว (延安新华广播电台) ออกอากาศวันละสองชั่วโมง[1] ส่วนในประเทศจีนเรียกว่าสถานีออกอากาศหยานอันซินหัว ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2483[2]

ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2492 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีออกกาศซานเป่ยซินหัว (陕北新华广播电台) หลังจากที่ออกอากาศจากหยานอัน ได้เริ่มออกอากาศในกรุงเป่ยผิงภายใต้ชื่อสถานีออกอากาศเป่ยผิงซินหัว (北平新华广播电台) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงประชาชนกลาง สองเดือนหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานีเสนอรายการออกอากาศ 15.5 ชั่วโมงต่อวันไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีน[1]

ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เหมา เจ๋อตง ได้เน้นย้ำว่าประชาชนทุกคนควรฟังสถานีวิทยุนี้

"สำนักข่าวและกระจายเสียงกลาง" เป็นตัวขับเคลื่อนในการผลักดันให้โรงเรียน หน่วยทหาร และองค์กรสาธารณะทุกระดับติดตั้งลำโพงสาธารณะและเครื่องส่งวิทยุที่มีเสียงดัง[1] ในช่วงปีคริสต์ทศวรรษ 1960 มีการติดตั้งลำโพง 70 ล้านตัวเพื่อเข้าถึงประชากรในชนบท 400 ล้านคน[1]

สถานีวิทยุกระจายเสียงประชาชนกลาง ได้คิดค้นการส่งสัญญาณแบบมีสาย ซึ่งเชื่อมกับเสาโทรศัพท์ที่พบได้ทั่วไปที่ได้ติดตั้งลำโพง สถานีท้องถิ่นมักจะตั้งอยู่ในเทศมณฑลหรือในแต่ละโรงงานหรือกลุ่มการผลิตต่างๆ[3] มันเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ของเหมาในการนำเสนอ "การเมืองตามความต้องการ" สถานีนี้ทำหน้าที่เป็นสำนักงานใหญ่ในการโฆษณาชวนเชื่อในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม[1]

ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม สถานีได้เสนอตารางรายการประจำวันมากมาย โดยเริ่มออกอากาศโดยการบรรเลงเพลงตงฟางหง (东方红)[4] ตารางรายการประจำวันส่วนใหญ่ประกอบด้วยรายการข่าวและรายการวัฒนธรรม แบ่งเป็นรายการพิเศษในหัวข้อต่างๆ เช่น การเพาะกายตอนเช้า รายการสำหรับเด็ก และการออกอากาศรายการทางทหาร[3]

ต่อมาสถานีได้เปลี่ยนชื่อเป็น China National Radio ในชื่อเวอร์ชันภาษาอังกฤษ[2] และย้ายไปที่สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในปี 2541[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

สถานี สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีกรุงเทพ สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี