ประวัติ ของ สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา

สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาได้มีการจัดตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 ตามคำสั่งรัฐสภา ที่ 8/2532 ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐสภา โดยได้รับจัดสรรงบประมาณตั้งต้น จำนวน 10,485,200 ล้านบาท เปิดดำเนินการทดลองออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 เมษายน - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นเวลา 6 เดือน โดยระยะแรกออกอากาศตั้งแต่เวลา 06:00-09:00 น. ซึ่งมีเพียงการเปิดเพลง สลับกับรายงานข่าว บทความ สรุปการประชุมคณะกรรมาธิการ และการถ่ายทอดข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ก่อนจะเริ่มออกอากาศอย่างถาวร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยส่งกระจายเสียงตั้งแต่เวลา 06:00-20:00 น. โดยเริ่มมีการถ่ายทอดเสียงการประชุมรัฐสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และการประชุมร่วมกันทั้งสองสภา นำเสนอร่วมกับข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงรัฐสภา[1]

ในปี พ.ศ. 2547 เพิ่มเวลาการกระจายเสียงอีก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 05:00-22:00 น. โดยเพิ่มรายการศาสนาและรายการเสริมสร้างความรู้ประชาธิปไตยสำหรับเยาวชน [1]

สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาในระบบเอเอ็ม ซึ่งทางกรมไปรษณีย์โทรเลข (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ในปัจจุบัน) ได้จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุเอเอ็มให้กับทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ตามแผนจัดสรรความถี่วิทยุกระจายเสียง ระบบเอ.เอ็ม.แห่งชาติ ไว้ที่ 1071 กิโลเฮิรตซ์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 [2]เพื่อขยายช่องทางการรับฟังให้มีความครอบคลุมพื้นที่การรับฟังให้กว้างขึ้น นอกเหนือจากพื้นที่การรับฟังของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ภาคเอฟเอ็มเดิมซึ่งมีสถานีแม่ข่ายอยู่ที่กรุงเทพมหานครและเครือข่ายในภูมิภาคอีก 14 จังหวัด รวมถึงเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ฟังที่ประสบปัญหาจากการถูกคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุชุมชนที่ส่งสัญญาณรบกวน ในระหว่างการรับฟังการถ่ายทอดเสียงการประชุมสภาฯ และรายการอื่นๆ ของสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา โดยสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา ภาคเอเอ็มเปิดดำเนินการกระจายเสียงครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ อาคารเครื่องส่ง สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร [1] โดยออกอากาศใช้ผังรายการเดียวกันกับภาคเอฟเอ็มทุกประการ

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)