ประวัติวิทยุ ของ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

กิจการวิทยุกระจายเสียงของไทย เริ่มต้นมาราว ๆ ปี 2470 ถึง 2472 โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง โดยทรงตั้งชื่อว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท เนื่องจากส่งกระจายเสียงจากพระราชวังพญาไท โดยมอบหมายให้ กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ดำเนินการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียง และดำเนินการกระจายเสียงได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 โดยเป็นกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง[1]

ต่อมาในปี 2482 คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขดำเนินการอยู่นั้น ไปขึ้นตรงกับ สำนักงานโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ชื่อใหม่ว่า สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ซึ่งใช้อยู่เพียงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะเปลี่ยนอีกครั้งเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2484 หลังจากมีประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)