ข้อวิพากษ์วิจารณ์และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานี ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

กระบอกเสียงรัฐบาล

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ในปี พ.ศ. 2551 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย ว่าเป็นกระบอกเสียงให้กับรัฐบาล (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 57 ของไทย) โดยเฉพาะให้มีรายการความจริงวันนี้ ซึ่งเป็นรายการกระบอกเสียงของรัฐบาล โดยมีผู้เสียหายจากข้อเท็จจริง จนต้องออกมาฟ้องหมิ่นประมาทอยู่บ่อยครั้ง เช่นตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือ ป.ป.ช. รวมไปถึงสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนนำไปสู่การบุกยึดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยของกลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม

การบุกยึดที่ทำการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

ภาพขณะพันธมิตรฯ ทำลายประตูรั้ว เพื่อเข้าชุมนุมภายในเอ็นบีที เมื่อเวลา 8.30 น.ภาพขณะถูกระงับการออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราวแห่งที่ 1

เมื่อเวลา 05.30 น.วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มชายฉกรรจ์ สวมหมวกไอ้โม่งปิดหน้าอย่างมิดชิด ซึ่งอ้างตัวเป็นกลุ่มนักรบศรีวิชัย หน่วยรักษาความปลอดภัยของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวนประมาณ 80 คน ได้บุกเข้ายึดอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ริมถนนวิภาวดีรังสิต โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่งดออกอากาศรายการข่าวเช้า ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ได้ โดยตรวจพบอาวุธปืน ไม้กอล์ฟ มีดดาบสปาตา และใบกระท่อม ในตัวกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว

จากนั้น เวลาประมาณ 06.00 น. สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ขึ้นประกาศบนเวทีใหญ่ของพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ได้บุกยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเป็นผลสำเร็จแล้ว ตนจะนำกลุ่มดาวกระจายตามไปสมทบที่สถานีฯ

ต่อมา เวลาประมาณ 08.30 น. แนวร่วมกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่นำโดยสมเกียรติ และอมร อมรรัตนานนท์ ได้พังประตูรั้วเข้ายึดที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ตลอดจนห้องส่งกระจายเสียง และห้องส่งออกอากาศ ถือเป็นการเข้ายึดสถานีโทรทัศน์โดยประชาชนครั้งแรกในประเทศไทย[10]

กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 92.5 และ 97.0 เมกกะเฮิร์ทซ์ ตลอดจนมีความพยายามของเจ้าหน้าที่เทคนิค สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ในการนำสัญญาณโทรทัศน์ของเอเอสทีวี มาออกอากาศในคลื่นความถี่โทรทัศน์ของเอ็นบีทีแทน เป็นผลให้เอ็นบีทีไม่สามารถออกอากาศได้ในช่วงแรก แต่หลังจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคเปลี่ยนระบบการออกอากาศ โดยใช้สัญญาณแอนาล็อกแทนสัญญาณดิจิตอล ทำให้สามารถออกอากาศได้โดยไม่มีคลื่นแทรก ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจจึงตัดสายไฟฟ้าของเครื่องส่ง เพื่อให้เกิดความเสียหายแทน[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนความพยายามออกอากาศรายการข่าวทางเอ็นบีที อย่างต่อเนื่องของพนักงานฝ่ายข่าว นำโดยตวงพร อัศววิไล, จิรายุ ห่วงทรัพย์, สร้อยฟ้า โอสุคนธ์ทิพย์, อดิศักดิ์ ศรีสม, วรวีร์ วูวนิช, กฤต เจนพานิชการ เป็นต้น โดยใช้วิธีการหลายรูปแบบ กล่าวคือ

  • ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่ แล้วให้สำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนกลาง ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ รับสัญญาณผ่านดาวเทียม ส่งไปยังเสารับสัญญาณโทรทัศน์บนอาคารใบหยก 2 เพื่อส่งออกอากาศทั่วประเทศอีกชั้นหนึ่ง โดยออกอากาศจากห้องส่งชั่วคราว ภายในบริเวณสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามาพบ จึงถูกระงับการออกอากาศไปอีก
  • ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค (ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดเชียงใหม่) [ต้องการอ้างอิง] มาที่ส่วนกลาง แล้วไปตามเส้นทางเดิม
  • ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากรถถ่ายทอดสดนอกสถานที่เช่นเดิม และต่อมาที่ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี เป็นห้องส่งชั่วคราว[10]

จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 18.30 น. วันเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศถอนกำลังออกจากสถานีฯ เนื่องจากความพยายามเชื่อมต่อสัญญาณเอเอสทีวีไม่ประสบผล แล้วไปสมทบกับกลุ่มใหญ่ ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบบริเวณสถานีฯ พบว่ามีการบุกรุกเข้าไปห้องต่างๆ ภายในอาคาร สถานที่ถูกทำลายไปเป็นบางส่วน อีกทั้งมีทรัพย์สินเสียหายและสูญหายไปจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะมีการบุกรุกเข้าไปรื้อค้นสิ่งของ ภายในห้องประทับรับรอง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ที่มีหมายกำหนดการเสด็จทรงบันทึกเทปรายการทูบีนัมเบอร์วันวาไรตี้ ที่เอ็นบีทีในวันดังกล่าวด้วย หลังจากการตรวจสอบในเบื้องต้น จึงอนุญาตให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ กลับเข้าปฏิบัติงานภายในอาคารได้[ต้องการอ้างอิง]

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่และผู้ประกาศข่าวส่วนหนึ่ง ยังคงรายงานข่าวที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในช่วงคืนวันที่ 26 ต่อเช้าวันที่ 27 สิงหาคม จนกระทั่งสามารถกลับมาออกอากาศ รายการข่าวภายในสถานีได้ตามปกติ ในช่วงข่าวเที่ยง วันที่ 27 สิงหาคม[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีกรุงเทพ สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย http://www.adslthailand.com/post/%E2%80%9C%E0%B8%9... http://news.mthai.com/politics-news/8833.html http://www.naewna.com/news.asp?ID=148458 http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Foru... http://www.smmsport.com/reader.php?news=212878 http://www.youtube.com/watch?v=u_0ceUEDN4Q&feature... http://www.youtube.com/watch?v=zGtXGQQ9tmc&feature... http://www.dailynews.co.th http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Def... http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?Ne...