ประวัติโครงการ ของ สถานีศึกษาวิทยา

ตั้งแต่แรกเริ่ม สถานีศึกษาวิทยาเป็นเพียงหนึ่งในสองโครงการศึกษาการเพิ่มสถานีในอนาคต เพื่อรองรับกับประชาชนที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน และโรงพยาบาลบางรัก แต่เนื่องจากในช่วงก่อสร้างบีทีเอสซีไม่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของย่าน จึงได้จัดเตรียมตอม่อแบบพิเศษที่รองรับการก่อสร้างสถานีในอนาคตแทนการก่อสร้างสถานี และเก็บรหัสสถานีไว้สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ต่อมาได้มีการประเมินโอกาสในการเติบโตเป็นระยะ ซึ่งผลจากการประเมินปรากฏว่าไม่คุ้มทุน บีทีเอสซีจึงยกเลิกโครงการสถานีและเก็บรหัสสถานีไว้เพื่อคิดค่าโดยสารตามระยะทางตามเดิม อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2558 บีทีเอสซี ได้ยื่นเรื่องต่อ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ในฐานะผู้ดูแลกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท เพื่อขอเสนอฟื้นฟูโครงการขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีงบในการก่อสร้าง 450 ล้านบาท ทั้งนี้บีทีเอสซีจะออกเองครึ่งหนึ่ง และให้ทางกองทุนออกอีกครึ่งหนึ่งโดยไม่มีการกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก ซึ่งการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 18 เดือนนับจากวันที่โครงการได้รับการอนุมัติจากกรุงเทพมหานคร[1]

โครงการดังกล่าวจะใช้ทุนในการก่อสร้าง รวมงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคทั้งสิ้น 650 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท 325 ล้านบาท และเงินจากกลุ่มบริษัทเอไอเอ 325 ล้านบาท โดยทางกลุ่มเอไอเอ จะได้สิทธิ์ในการเชื่อมต่ออาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาธร เข้ากับตัวสถานีด้วย และมี บริษัท จอมธกล จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างตัวสถานี

ปัจจุบัน บีทีเอสซีได้เริ่มงานก่อสร้างตัวสถานีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ภาพรวมการก่อสร้าง ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 แล้วเสร็จ 50% ล่าช้ากว่าแผน 20% โดยมีสาเหตุมาจากความล่าช้าในการจัดทำรายงานขอแก้ไขการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ความล่าช้าในการอนุมัติการก่อสร้าง ตลอดจนอุบัติเหตุรถไฟฟ้าเฉี่ยวชนผู้รับเหมา การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการณ์ปิดเมืองและข้อกำหนดห้ามบุคคลระดับพลเรือนออกจากเคหะสถาน อย่างไรก็ดีปัจจุบันมาตรการต่าง ๆ ได้คลี่คลายลงและสามารถดำเนินการก่อสร้างสถานีได้ตามปกติ คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการกับประชาชนได้ใน พ.ศ. 2564

ความคืบหน้า

ลำดับที่เนื้องานความคืบหน้า
(ภาพรวม 49.00% (ล่าช้า 20.25%)
ณ สิ้นเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563)[2]
1งานโครงสร้าง (Structure Work)33.00%
งานติดตั้งโครงสร้างคานหลักสำหรับชั้นตำหน่ายตั๋ว (Concourse Cross Beam)
งานหล่อคานย่อยสำหรับชั้นจำหน่ายตั๋ว (I-Grider)
งานประกอบโครงสร้างบันไดเหล็ก สะพานเหล็กสำหรับงานซ่อมบำรุง
2งานสถาปัตยกรรม (Architecture Work)11.06%
3งานระบบประกอบอาคาร (E&M Work)4.94%

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)