สถานีอวกาศสกายแล็บ
สถานีอวกาศสกายแล็บ

สถานีอวกาศสกายแล็บ

สกายแล็บ (อังกฤษ: Skylab) เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา และเป็นสถานีอวกาศแห่งที่สองของโลกที่มีลูกเรืออยู่ปฏิบัติงาน ถัดจากสถานีอวกาศซัลยุตของสหภาพโซเวียต สกายแล็บโคจรอยู่ในวงโคจรของโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1973-1979 มีนักบินอวกาศไปประจำการทั้งสิ้น 3 ครั้งระหว่าง ค.ศ. 1973-1974 บนสถานีอวกาศมีห้องทดลองสำหรับศึกษาผลกระทบจาก microgravity รวมถึงเป็นที่ติดตั้งหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ฐานกล้องโทรทรรศน์อพอลโลสกายแล็บถูกส่งขึ้นจากโลก เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1973 จากฐานยิง LC-39A ของศูนย์อวกาศเคนเนดีโดยจรวด Saturn INT-21 (ซึ่งเป็นรุ่นดัดแปลงของจรวด Saturn V ที่ใช้ส่งคนไปดวงจันทร์) และตกกลับมาพื้นโลกเมื่อ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 ใกล้กับเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย


สถานีอวกาศสกายแล็บ

NSSDC ID: 1973-027A
จำนวนวันที่โคจร: 2,249 วัน
ปริมาตรอากาศ: 10,000 ft³
ระยะทางที่ทำได้รวม: ~890,000,000 ไมล์
(~1,400,000,000 กม.)
ส่งขึ้นเมื่อ: 1973-05-14
17:30:00 UTC
จำนวนวันที่มนุษย์อยู่: 171 วัน
กลับสู่บรรยากาศ: 1979-07-11
16:37:00 UTC
near เพิร์ธ, ออสเตรเลีย
ความเอียงวงโคจร: 50 องศา
คาบการโคจร: 93.4 นาที
จำนวนลูกเรือ: 3
ฐานส่ง: LC-39A, ศูนย์อวกาศเคนเนดี
สัญญาณเรียกขาน: Skylab
มวล: 77,088 กิโลกรัม
จุดไกลโลกที่สุด: 274.6 ไมล์ (442 กม.)
จุดใกล้โลกที่สุด: 269.7 ไมล์ (434 กม.)
จำนวนรอบโคจรต่อวัน: 15.4
จำนวนรอบโคจรรวม: 34,981

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)