ประวัติ ของ สถานีโทรทัศน์เอแอลทีวี

หลังการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการเรียนให้กับเยาวชน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงได้อนุมัติให้มีการจัดช่องโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเป็นกรณีพิเศษ รวมถึงได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์บริการสาธารณะให้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยทดลองออกอากาศช่อง ไทยพีบีเอส คิดส์ ในระบบทีวีดิจิทัล ผ่านช่องหมายเลข 4 บนคลื่นความถี่ของตัวเองเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน[1] ซึ่งหลังจากการอนุมัติดังกล่าว ไทยพีบีเอส ได้เปิดตัวช่องอย่างไม่เป็นทางการในชื่อ ไทยพีบีเอส เอแอลทีวี หรือ ไทยพีบีเอส แอคทีฟ เลิร์นนิง ทีวี ก่อนลดชื่อเหลือ เอแอลทีวี ก่อนออกอากาศ

เอแอลทีวีได้เริ่มต้นทดสอบการออกอากาศเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และมีการแถลงข่าวเปิดตัวในวันเดียวกัน ก่อนเริ่มออกอากาศเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยไทยพีบีเอสได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในแวดวงการศึกษา อาทิ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะครุศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เครือข่ายพ่อแม่ และเครือข่ายผู้ผลิตรายการเด็ก มาสนับสนุนและร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ใหม่ เพื่อเป็นพื้นที่วิถีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21[2] ในระยะแรกเอแอลทีวี ใช้วิธีการออกอากาศรายการเฉพาะตามช่วงเวลาออกอากาศ พ่วงกับการออกอากาศเนื้อหาและรายการที่เหมาะสมจากไทยพีบีเอสซ้ำอีกครั้ง โดยมีระยะเวลาออกอากาศในแต่ละวันตั้งแต่ 6.00-21.00 น.

ภายหลังองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้ยื่นขอใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่เพื่อเริ่มออกอากาศเอแอลทีวีอย่างเป็นทางการ แต่คำขอกลับไม่ได้รับการอนุมัติเนื่องจาก สำนักงาน กสทช. ยังไม่มีแนวทางสำหรับการให้ใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรทัศน์ของรัฐฯ เพื่อใช้ในด้านการส่งเสริมความรู้และการศึกษา สำนักงาน กสทช. จึงขยายระยะเวลาทดลองออกอากาศของสถานีโทรทัศน์เอแอลทีวีออกไปอีก 6 เดือน นั่นคือให้สิ้นสุดระยะเวลาทดลองออกอากาศในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 พร้อมกับให้สำนักงาน กสทช. ดำเนินการพิจารณาเงื่อนไขการออกอากาศเพื่ออนุมัติใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ให้กับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยต่อไป[3]

ใกล้เคียง

สถานี สถานีกลางบางซื่อ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีกรุงเทพ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) สถานีบางหว้า สถานีอวกาศนานาชาติ สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)