ประวัติ ของ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง_๑

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ เดิมชื่อว่า วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี (วกศ.ปทุมธานี)[1] แรกเริ่มก่อตั้งโดยใช้ชื่อว่า ศูนย์วิศวกรรมเกษตร ไทย-เยอรมัน" (Thai-German Agricultural Engineering Training Center) และได้เปลี่ยนมาเป็น "ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร" (ศวษ.) จัดตั้งขึ้นเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยได้เริ่มเจรจาให้ความร่วมมือทางด้านเทคนิคและวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันการศึกษา และเปิดฝึกอบรมทางด้านเครื่องจักรกลเกษตร สำหรับกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ โดยจัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 ใช้สถานที่ของโรงเรียนเกษตรกรรมปทุมธานี เป็นสถานที่ดำเนินการ

ในเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ได้มีพระราชโองการประกาศจัดตั้ง "ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร" ขึ้น อีกทั้งได้เริ่มก่อสร้างอาคาร สถานที่ทำงานเพิ่มเติมขึ้นที่ฟาร์มธนะรัตน์ บนพื้นที่ทั้งหมด 73 ไร่ 2 งาน 72 ตารางวา

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2520 กระทรวงศึกษาธิกาได้ประกาศให้ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร เป็นสถานศึกษาระดับวิทยาลัย สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการ จึงให้เปลี่ยนชือ "ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร" เป็น วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี" สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2556 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศจัดตั้ง "คณะกรรมการอาชีวศึกษา" เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การรวมและแยกสถาบันการศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็น "สถานบันการอาชีวศึกษา จำนวน 19 แห่งทั่วไปประเทศ จึงมีผลทำให้ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี ยกฐานขึ้นเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ เป็นต้นมาเกิดจากการรวมตัวของวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 10 แห่ง โดยอำศัยอำนาจตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 ระบุว่า "สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมเข้าไว้ในสถาบันการจัดตั้งคณะกรรมการอาชีวศึกษาเข้าด้วยกันในสถาบันอาชีวศึกษาสามารถทำได้โดยคำนึงถึงความร่วมมือที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทรัพยากรร่วมกันทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ... "[2]

ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศจัดตั้ง "คณะกรรมการอาชีวศึกษา" เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การรวมและแยกสถาบันการศึกษาเพื่อจัดตั้งเป็น "สถานบันการอาชีวศึกษา จำนวน 19 แห่งทั่วไปประเทศ และจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรประจำภูมิภาคอีกจำนวน 4 แห่ง

จึงทำให้ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี รวมควบตั้งขึ้นเป็น "สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันวิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก