หลักการดำเนินงานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ของ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์

  1. ระบบการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นระบบที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ เฉพาะทาง โดยเฉพาะเป็นองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันหลักที่ทำงานด้านนี้จึงควรเป็นสถาบันที่มีความเป็นอิสระ เพื่อให้มีความเป็นกลาง มีความโปร่งใส มีการตรวจสอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
  2. การตรวจทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ควรมีหน่วยงานกลางเป็นหน่วยประสานเรื่องการดำเนินการ รวมทั้งงบประมาณให้กับหน่วยงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้เสียหายสามารถเข้าถึงการบริการ อีกทั้งจะเป็นแรงจูงใจสำหรับการปฏิบัติงาน เนื่องจากบุคลากรทางด้านนี้จะได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากภาครัฐผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานได้ดี
  3. ควรมีการกำหนดมาตรฐานกลางของการดำเนินงานการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ทุกสาขา และมีการควบคุมดูแลให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐานโดยการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการและบุคลากรที่ปฏบัติงานด้านนี้ ทั้งนี้ประชาชนจะเชื่อมั่นศรัทธาในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ และจะทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้าสู่มาตรฐานสากลได้มากยิ่งขึ้น
  4. การกำหนดนโยบาย การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลาง การตรวจสอบ รวมถึงด้านจริยธรรม ของผู้ปฏิบัติงาน ควรให้มีคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ สนับสนุนแต่งตั้งแต่ในระยะเวลา 3 ถึง 5 ปี ควรผลักดันให้เป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
  5. กำหนดให้สถาบันใหม่นี้ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งเป็นที่พึ่งเวลาประชาชนมีปัญหาข้อร้องเรียน ซึ่งในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานกลางใดยอมดำเนินการให้
  6. โครงสร้างการบริการ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง รวดเร็ว และมีความโปร่งใส
  7. มีการปลูกฝังจริยธรรมในการปฏิบัติงาน


ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันวิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก