แนวคิดและการจัดการ ของ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

การจัดการความรู้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ หรือสังคมอุดมปัญญา เนื่องจากสังคมไทยจำเป็นต้องขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของสังคมสู่สังคมอุดมปัญญา จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานสร้างขีดความสามารถด้านการจัดการความรู้ขึ้นในสังคม นี่คือที่มาของการก่อตั้ง สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ให้เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนขบวนการจัดการความรู้ในสังคมไทย โดยทำงานร่วมกับภาคีที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นภาคีโดยตรงและโดยอ้อม โดย สคส. ทำงานในลักษณะของเพื่อนร่วมเรียนรู้วิธีใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายหลักของภาคี และทำงานเชื่อมโยงภาคีจัดการความรู้เข้าเป็นเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การนำการจัดการความรู้ไปใช้งาน

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมดำเนินการส่งเสริมการจัดการความรู้ในสังคมไทย ทั้งในภาคสังคม-เศรษฐกิจพอเพียง และในภาคสังคม-เศรษฐกิจแข่งขัน ทั้งในภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคเอกชนไม่ค้ากำไร (เอ็นจีโอ) และภาคประชาชน ทั้งดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินการจัดการความรู้ในบริบทและรูปแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมขบวนการเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมความรู้ และสังคมเรียนรู้ โดยมีการสร้าง ศาสตร์ ด้านการจัดการความรู้ในสังคมไทย และสร้าง “สุขภาวะ” ทางสังคม และทุนทางสังคมไปพร้อมๆ กับการดำเนินการดังกล่าว

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์