การวิจัย ของ สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย

ปัจจุบันจอร์เจียเทคจัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัยเป็นอย่างมากตามการจัดของ The Carnegie Foundation for the Advancement of Teaching[2] งานวิจัยต่างๆได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยงานวิจัยส่วนหนึ่งมาจากห้องทดลองภายในภาควิชาต่างๆในมหาวิทยาลัย และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยเอง ได้แก่ สถาบันวิจัยจอร์เจียเทค (GTRI) ซึ่ง GTRI มุ่งเน้นการวิจัยทางเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น เรดาร์, electro-optics, และวิศวกรรมวัสดุศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้จอร์เจียเทคยังเป็นเจ้าของศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีที่ถือได้ว่ามี clean room ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา[3]

ในส่วนการทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ จอร์เจียเทคได้ก่อตั้ง Center for Robotics and Intelligent Machines (RIM@GT) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2006 โดยถือเป็นหน่วยวิจัยสหวิชาที่เป็นการร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ College of Computing, College of Engineering และ GTRI ในปัจจุบัน RIM@GT เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกทางด้านหุ่นยนต์ โดยถือเป็นหลักสูตรสหวิชาทางด้านหุ่นยนต์เป็นรายที่สองต่อจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน[4]

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันวิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย http://gatechtso.ning.com/ http://grad-schools.usnews.rankingsandreviews.com/... http://www.topuniversities.com/worlduniversityrank... http://www.topuniversities.com/worlduniversityrank... http://www.cc.gatech.edu/news/first-robotics-docto... http://gtresearchnews.gatech.edu/ http://www.gtri.gatech.edu/ http://smartech.library.gatech.edu/dspace/bitstrea... http://www.rim.gatech.edu/ http://www.gatech.edu/