ประวัติ ของ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันพุธที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมีรากฐานความเป็นมาจาก “โรงเรียนจิตรลดา” ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับอนุบาล ขึ้น ณ พระที่นั่งอุดร ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องด้วยขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เจริญพระชนมายุพร้อมที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียนโดยมีพระอาจารย์คนแรกที่ถวายการสอนเพียงคนเดียว คือ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ดร.ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์) และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสหายร่วมศึกษาอีก ๗ คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนจิตรลดา

         ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ทรงเจริญพระชนมายุพอที่จะทรงพระอักษรได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มชั้นอนุบาลขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และเพิ่มนักเรียนขึ้นอีก ๔ คน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระอาจารย์เพิ่มอีกคนหนึ่ง คือ ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียน อนุบาล ๒ ระดับ ระดับละ ๘ คน

    จนเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จ พระราชดำเนินมาประทับ ณ พระตำหนัก จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตจึงได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคาร เรียนถาวร ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดา รโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานนาม โรงเรียนว่า “โรงเรียนจิตรลดา” ต่อจากนั้นก็เพิ่ม ระดับชั้นขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละชั้น จนนักเรียน จิตรลดารุ่นที่ ๓ คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิตติวัฒนาดุลโสภาคย์เริ่มทรงพระอักษร ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ นักเรียนจิตรลดารุ่นที่ ๕ คือ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ รวมถึงพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๙ ทุกพระองค์”

         นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานพระบรมราโชบาย เพื่อให้คณะครูโรงเรียนจิตรลดาดำเนินการ จัดการเรียนการสอนตามพระราชประสงค์ พอ สรุปกระแสพระราชดำรัสได้ว ่า มีพระราช ประสงค์ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงพระอักษรร่วมกับนักเรียนอื่นซึ่งมีวิถีชีวิตที่ต่างกัน เพื่อจะได้เข้าพระทัยในสิ่งแวดล้อมและปัญหาของ คนอื่น ตลอดจนทรงรู้จักวางพระองค์ได้ถูกต้อง และทรงเมตตากรุณากับผู้ที่ต้องการความช่วย เหลือ ทรงให้มีระเบียบวินัย และทรงประหยัด อดออม ทั้งด้านอุปกรณ์และการทรงเครื่อง (การแต่งกาย)

         ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ โรงเรียนจิตรลดา ได้เปิด สายวิชาชีพเพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในเวลาต่อ มา จวบจน พ.ศ. ๒๕๕๗ ด้วยสมเด็จพระกนิษฐา ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์บริหารโรงเรียน จิตรลดามีพระราชประสงค์จะขยายโอกาส ทางการศึกษา จากระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และต ่อยอดขึ้นมาเป็นภาคอุดมศึกษาในระดับ ปริญญาตรี โดยจัดตั้งเป็นวิทยาลัยใช้ชื่อว ่า “วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา” เปิดการเรียนการสอนใน ๒ คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ ใน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาธุรกิจอาหาร และคณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ซึ่งมี ๒ สาขาวิชา ได้แก่สาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง

         ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ วิทยาลัยได้ปรับปรุง หลักสูตรระดับปริญญาตรีของทั้ง ๒ คณะ คือ คณะบริหารธุรกิจในสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ อาหาร กลุ่มวิชาอุตสาหกรรมอาหารและธุรกิจ บริการอาหาร และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แขนงวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สำหรับระบบอาคารอัจฉริยะ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีระบบควบคุมอัตโนมัติ

         และเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหา วชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสถาบัน เทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวัน ที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ ให้วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา เปลี่ยนสถานะจาก “วิทยาลัย” สู่การเป็น “สถาบัน” พร้อมควบรวมโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) และวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา ดำเนินงาน ในชื่อ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในกำกับของรัฐ ตาม พ.ร.บ.สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ภายใต้การ บริหารงานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา และมี รศ. ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี ดำเนินงานตามปรัชญาสถาบันที่ว่า รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

นำความรู้ สู้งานหนัก พร้อมจัดหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้นโยบาย “เรียนคู่งาน-งานคู่เรียน”

ใกล้เคียง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการบินพลเรือน สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันวิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันพระบรมราชชนก