สถาปัตยกรรมคณะราษฎร
สถาปัตยกรรมคณะราษฎร

สถาปัตยกรรมคณะราษฎร

สถาปัตยกรรมคณะราษฎร คือรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทยที่ก่อสร้างหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คือสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2475−2490 เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ บ้างก็เรียกว่า อลังการศิลป์ ที่มีลักษณะเรียบง่าย ลดทอนรายละเอียด ไม่ตกแต่งรายละเอียด ตลอดจนสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และไม่มีหลังคา มีแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย[1] อุดมการณ์ประชาธิปไตย ความเสมอ มีองค์ประกอบตกแต่งใช้รูปทรงทางเรขาคณิต ใช้เส้นตั้ง เส้นนอน จัดองค์ประกอบให้ดูทันสมัย ไม่ขึ้นเป็นจั่วทรงสูง ไร้ลวดลายไทย สื่อถึงความเสมอภาค และการลดเลิกฐานานุศักดิ์ ชนชั้นทางสังคม[2]หลังปี พ.ศ. 2490 สถาปัตยกรรมคณะราษฎรไม่ได้ถูกสร้างเพิ่มเติม และสถาปัตยกรรมที่ยังคงอยู่ เช่น อนุสาวรีย์ หรือตึกอาคารที่มีความโดดเด่นสำคัญ ถูกพูดถึงในเชิงลบ เช่น หน้าตาน่าเกลียดไม่เป็นไทย บดบังโบราณสถาน และยังมีข้อเสนอให้มีการรื้อถอนทำลายไปบ้าง[3] เช่น โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ถึงกระนั้นแนวคิดคณะราษฎรถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ หลังการรัฐประหาร 2549 โดยกลุ่มปัญญาชน นักศึกษา นักประวัติศาสตร์ และนักกิจกรรมทางการเมือง ที่ใช้อนุสาวรีย์สิ่งปลูกสร้าง วัตถุสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นสถานที่รวมตัวทางการเมือง[2]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี