สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย ของ สถาปัตยกรรมทิวดอร์

ในช่วงเวลานี้ก็เริ่มมีการสร้างปล่องไฟซ้อน (chimney stack) และ เตาอิฐแบบปิดที่ทำให้ลดความนิยมลงในการสร้างห้องโถงเอก (Great hall) ที่เป็นการสร้างห้องโถงใหญ่โดยมีเตาอิฐเป็นศูนย์กลางของกิจการต่างๆ ของห้อง ที่นิยมทำกันในสถาปัตยกรรมของยุคกลาง มาถึงยุคนี้เตาผิงสามารถติดตั้งบนชั้นบนของสิ่งก่อสร้างได้ และการสร้างชั้นสองของสิ่งก่อสร้างตลอดความยาวของตัวสิ่งก่อสร้างก็เป็นสิ่งที่ทำกันได้[2] ปล่องไฟของสมัยทิวดอร์มีขนาดใหญ่และหรูหราที่เป็นการสร้างเพื่อแสดงความมีหน้ามีตาของเจ้าของว่าเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีใหม่ และ การสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ที่มีชั้นสองยาวตลอดตัวสิ่งก่อสร้าง[3].

จุดประสงค์ของการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่หันเหจากการสร้างเพื่อเป็นการป้องกันจากการรุกรานของข้าศึกศัตรูของสถาปัตยกรรมยุคก่อนหน้านั้นที่เป็นคฤหาสน์ล้อมด้วยคูมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงาม ตัวอย่างเช่นการวางผังบ้านที่เป็นรูปตัว “H” หรือ “E” ที่เพิ่มความนิยมขึ้น[4] นอกจากนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ก็ยังนิยมการมีการสร้าง “ปริศนา” ที่ออกแบบให้แสดงถึงความมีปฏิภาณของเจ้าของและสร้างความสนุกให้แก่ผู้มาเยือนด้วย “ปริศนา” ก็อาจจะเป็นสัญลักษณ์ตรีเอกานุภาพของโรมันคาทอลิกที่อาจจะอยู่บนด้านสามด้านของสามเหลี่ยม หรือผังรูปตัว “Y” หรือในการแฝงไว้กับลวดลายตกแต่ง[5]

ส่วนที่อยู่อาศัยและสิ่งก่อสร้างสำหรับชนชั้นธรรมดาก็มักจะเป็นบ้านโครงไม้ (Timber framing) ที่กรุด้วยปูนดิน (Wattle and daub) แต่บางครั้งก็จะใช้อิฐ[3]การยุบอารามทำให้ที่ดินที่ยึดมาจากคริสต์ศาสนสถานกลายเป็นที่ดินที่ว่างเปล่า ซึ่งทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กขึ้นกันอย่างแพร่หลาย โดยการใช้หินจากอารามต่างๆ ที่ถูกทำลายไป[3].

ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี