ที่มาของคำและการและการวิวัฒนาการไปเป็นสถาปัตยกรรมกอทิก ของ สถาปัตยกรรมนอร์มัน

“สถาปัตยกรรมนอร์มัน” อาจจะเป็นคำที่เริ่มใช้กันโดยนักโบราณศึกษา (antiquarian) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่การลำดับลักษณะตามสมัยต่างๆ มาจากการกำหนดของทอมัส ริคแมน (Thomas Rickman) ในหนังสือที่เขียนในปี ค.ศ. 1817 ชื่อ ความพยายามในการแยกลักษณะสถาปัตยกรรมอังกฤษตั้งแต่สมัยนอร์มันพิชิตอังกฤษจนถึงสมัยการปฏิรูปศาสนา (An Attempt to Discriminate the Styles of English Architecture from the Conquest to the Reformation) ที่ริคแมนเริ่มใช้คำว่า “นอร์มัน, กอทิกอังกฤษตอนต้น, กอทิกวิจิตร และกอทิกเพอร์เพ็นดิคิวลาร์” ในการแยกลักษณะสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ ส่วนคำว่า “โรมาเนสก์” โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในภาษากลุ่มโรมานซ์ในอังกฤษมาตั้งแต่ ค.ศ. 1715[1] และนำมาใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819[2] แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพจะทรงสร้างแอบบีเวสต์มินสเตอร์ในแบบโรมาเนสก์ (ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งก่อสร้างเดิมหมดในปัจจุบัน) ก่อนหน้าการรุกรานของชาวนอร์มันไม่นานนัก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญขนาดใหญ่ที่เก่าที่สุดที่สร้างแบบโรมาเนสก์ในอังกฤษ ในอังกฤษไม่มีสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนการรุกรานเหลืออยู่ให้เห็น แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าลักษณะบางส่วนที่หลงเหลืออยู่ในคริสต์ศาสนสถานบางแห่งที่โดยทั่่วไปกล่าวกันว่าเป็นลักษณะ “นอร์มัน” นั้นอันที่จริงแล้วอาจจะเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแองโกล-แซ็กซอน

ขณะที่ช่างสลักหินวิวัฒนาการลักษณะการแกะและทดลองหาวิธีแก้ปัญหาการสร้างเพดานสันอยู่ก็ได้พบวิธีใหม่ๆ ในการก่อสร้างเช่นการใช้โค้งที่แหลมขึ้นกว่าเดิม ที่ต่อมากลายมาเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมกอทิก นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและนักวิชาการมีความเห็นว่าการศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมควรเป็นการศึกษาที่มีความต่อเนื่องเป็นหน่วยทั้งหมดรวมกันแทนที่จะเป็นการศึกษาของลักษณะเป็นส่วนๆ ซึ่งรวมทั้งการศึกษาวิวัฒนาการภายในสถาปัตยกรรมนอร์มันหรือโรมาเนสก์เช่นที่ว่า นักวิชาการเรียกลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะที่อยู่ในระหว่างการวิวัฒนาการจากสมัยหนึ่งไปเป็นอีกสมัยหนึ่งว่าเป็น “ลักษณะคาบสมัย” (Transitional) หรือ “ลักษณะคาบสมัยนอร์มัน-กอทิก” (Norman-Gothic Transitional) เว็บไซต์บางแห่งใช้คำว่า “นอร์มันกอทิก” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกำกวมที่อาจจะหมายถึงลักษณะคาบสมัยหรือลักษณะนอร์มันอย่างเดียวก็เป็นได้[3],[4]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี