สถาปัตยกรรมไทยประเพณี
สถาปัตยกรรมไทยประเพณี

สถาปัตยกรรมไทยประเพณี

สถาปัตยกรรมไทยประเพณี เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ลักษณะประจำชาติ แต่เดิมเป็นสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และพระมหากษัตริย์เป็นหลัก การออกแบบอาคารทางสถาปัตยกรรมไทยประเพณีไทยจึงมีกระบวนการของการออกแบบเป็นมาตรฐานโดยการสืบทอดสืบต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นฝีมือช่างหลวงหรือช่างท้องถิ่น มีการวิวัฒนาการต่อเนื่องตลอดมาแต่ก็ยังยึดถือระเบียบบางอย่างอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทยประเพณีได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา การศึกษาสถาปัตยกรรมได้เปลี่ยนแปลงจากการถ่ายทอดความรู้ในหมู่ที่เป็นช่างในราชสำนักมาสู่การศึกษาในสถานศึกษาสู่บุคคลทั่วไป[1]คำว่า แบบประเพณี มิใช่คำเรียกที่ใช้มาแต่อยุธยาแต่เป็นการเรียกสมัยหลัง คำที่ใช้ใกล้เคียงในสมัยนั้นเรียกว่า แบบหลวง ซึ่งให้นัยยะการสร้างอาคารตามขนบประเพณีซึ่งถูกรักษาและพัฒนาจากช่างหลวง ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเรียกแบบอาคารที่สร้างตามขนบประเพณีว่า "วัดแบบขนบนิยม" และวัดที่รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างขึ้นแบบใหม่ว่า "วัดทรงประดิษฐ์ใหม่" ภายหลังเรียกว่า "แบบพระราชนิยม"[2]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี