สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม_พ.ศ._2440

สนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างสยามและญี่ปุ่น พ.ศ. 2440[1] (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation between Siam and Japan) เป็นสนธิสัญญาที่ตกลงกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440[1] (พ.ศ. 2441 หากนับแบบปัจจุบัน) ระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นยุคเมจิในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ โดยมีนายอินางากิ มันจิโร (Inagaki Manjirō, 稲垣 満次郎) อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกรุงสยามเป็นผู้แทนฝ่ายญี่ปุ่น และสยามอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงเป็นผู้แทนฝ่ายสยาม ในสนธิสัญญานี้ ทั้งญี่ปุ่นและสยามต่างให้การรับรองสถานะ "ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง" (Most Favoured Nation)[2] ซึ่งกันและกัน สยามมอบสิทธิทางการค้าภาษีสินค้าขาเข้าในระดับต่ำ และมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Extraterritoriality) ให้แก่ญี่ปุ่น ดังที่สยามได้มอบให้แก่ชาติตะวันตกอื่นๆก่อนหน้าสนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 นี้ เป็นก้าวสำคัญในการเจรจายกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของสยาม เนื่องจากสนธิสัญญานี้เป็นสนธิสัญญาฉบับแรก ที่ได้มีการกำหนดเวลาการสิ้นสุดของสนธิสัญญา ในขณะที่สนธิสัญญาไม่เป็นธรรม (Unequal Treaties) อื่น ๆ ที่สยามได้ทำกับชาติตะวันตกก่อนหน้านี้นั้น ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสนธิสัญญา

สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม_พ.ศ._2440

วันหมดอายุ 10 มีนาคม พ.ศ. 2466
ภาคี
ผู้ลงนาม
ภาษา ไทย ญี่ปุ่น และอังกฤษ
ที่ลงนาม กรุงเทพมหานคร
วันลงนาม 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา