สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม_พ.ศ._2452

สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 (อังกฤษ: Anglo-Siamese Treaty of 1909code: en is deprecated ) หรือ สัญญากรุงเทพฯ (Bangkok Treaty of 1909code: en is deprecated ) เป็นสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับสยาม ซึ่งได้มีการลงนามสนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452[1] และรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 สนธิสัญญาฉบับนี้มีทั้งสิ้น 8 ข้อโดยมีสาระสำคัญคือ:สนธิสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นจากการที่เอ็ดเวิร์ด เฮนรี สโตรเบล ที่ปรึกษาชาวอเมริกันของรัฐบาลสยาม ได้ทูลถวายความเห็นต่อรัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จกลับจากการประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2450 ว่ารัฐบาลสยามไม่สามารถไว้ใจสุลต่านเมืองเหล่านี้ได้ และวันใดก็วันหนึ่งไม่ช้าหรือเร็ว อังกฤษจะต้องหาทางเอาดินแดนส่วนนี้ไปได้แน่ หากปล่อยไว้สยามอาจเสียดินแดนเหล่านี้โดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย แม้สยามจะต้องสูญเสียดินแดนกว่า 38,000 ตารางกิโลเมตร แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยมีพระราชดำริต่อดินแดนส่วนนี้ว่า "เราไม่มีผลประโยชน์เป็นพิเศษแต่อย่างใดในบรรดาหัวเมืองเหล่านี้…หากเราต้องสูญเสียหัวเมืองเหล่านี้ให้แก่อังกฤษ เราจะขาดแต่เพียงดอกไม้เงินดอกไม้ทอง นอกเหนือไปจากเครื่องราชบรรณาการนี้แล้ว ก็ไม่มีการสูญเสียทางด้านวัตถุอื่นใดอีก..."[2] อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้สุลต่านไทรบุรีโกรธเคืองมาก โดยตรัสว่า "ประเทศของฉัน ประชาชนของฉัน ถูกขายไปเหมือนกับการขายลูกวัว ฉันให้อภัยคนซื้อซึ่งไม่มีพันธะกับฉันได้ แต่ฉันให้อภัยคนขายไม่ได้"[3]

สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม_พ.ศ._2452

ภาคี จักรวรรดิอังกฤษ
สยาม
ที่ลงนาม กรุงเทพมหานคร
วันลงนาม 10 มีนาคม พ.ศ. 2452
ภาษา ไทยและอังกฤษ
วันมีผล 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2452

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา