การลงนาม ของ สนธิสัญญาอึลซา

9 พฤศจิกายน 1905 อิโต ฮิโรบูมิ เดินทางถึงกรุงฮันซอง (กรุงโซล) และเข้าถวายพระราชสาสน์จากจักรพรรดิมุตสึฮิโตะแห่งญี่ปุ่นแก่จักรพรรดิโกจงแห่งเกาหลี เพื่อต้องการให้จักรพรรดิโกจงลงพระนามในสนธิสัญญา ซึ่งพระองค์ก็ไม่ยิมยอม ต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน อิโตได้บัญชาให้กองทหารญี่ปุ่นเข้าล้อมวังหลวงไว้ เพื่อกดดันให้พระองค์ทรงลงพระนาม

17 พฤศจิกายน พลเอก ฮาเซนาวะ โยชิมิชิ ผู้บัญชาการกองทหารรักษาการณ์ประจำเกาหลี พร้อมด้วย อิโต ฮิโรบูมิ และกองทหารญี่ปุ่นส่วนหนึ่ง ได้เข้าไปยังพระที่นั่งจุงเมียงจอน ซึ่งเป็นพระที่นั่งสถาปัตยกรรมตะวันตก ที่ตั้งอยู่ในพระราชวังด็อกซุกอุง เพื่อเกลี้ยกล่อมให้จักรพรรดิเกาหลีลงพระนามในสนธิสัญญา แต่พระองค์ก็ได้ปฏิเสธ ดังนั้น อิโต จึงบีบบังคับด้วยกำลังทหารให้คณะรัฐมนตรีเกาหลีลงนาม[2] อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเกาหลี ฮัน กยูซอล ปฏิเสธการลงนามอย่างเสียงดัง อิโตจึงสั่งให้ทหารนำตัวเขาไปขัง และขู่ว่าถ้าเขายังไม่หยุดโวยวายเสียงดังจะสังหารเขา[3] เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ จึงมีรัฐมนตรีเกาหลี 5 คนซึ่งเรียกว่า "5 รัฐมนตรี" ยอมลงนาม คือ รัฐมนตรีศึกษาธิการ อี วันยง, รัฐมนตรีกองทัพ อี กวนแท็ก, รัฐมนตรีมหาดไทย อี จียอง, รัฐมนตรีต่างประเทศ พัก เจซุน และ รัฐมนตรีเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม กวอน จุงฮยอน โดยที่จักรพรรดิโกจงไม่ได้ทรงร่วมลงพระนาม

การไม่ยอมรับของจักรพรรดิโกจง

ภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาผ่านพ้น จักรพรรดิโกจงได้ทรงส่งราชสาสน์ส่วนพระองค์ไปยังบรรดาประมุขแห่งรัฐของประเทศมหาอำนาจ เพื่อขอแนวร่วมเพื่อต่อต้านการลงนามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย[4] โดยพระองค์ได้ส่งราชสาสน์ลงตราราชลัญจกรไปยัง 8 ประมุขแห่งรัฐ คือ

  1. พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร
  2. ประธานาธิบดี อาร์ม็อง ฟาลีแยร์ แห่งฝรั่งเศส
  3. จักรพรรดินีโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
  4. จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย
  5. พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลี
  6. สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม
  7. จักรพรรดิกวังซวี่แห่งจักรวรรดิชิง
  8. จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)