เบื้องหลัง ของ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์_ค.ศ._1833

ในการเจรจาทำสนธิสัญญา แอนดรูว์ แจ็คสัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ ได้ส่งเอ็ดมันด์ โรเบิร์ตส์มายังกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นทูตอเมริกันคนแรก[1] บนเรือรบอเมริกันพีค็อก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2376 ระหว่างที่โรเบิร์ตส์เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เองที่กรุงรัตนโกสินทร์และสหรัฐสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2376[2]

ในการเจรจาทางการทูตระหว่างทั้งสองฝ่าย ได้มีการแลกเปลี่ยนบรรณาการระหว่างรัฐต่อรัฐ เนื่องจากเรือที่นำบรรณาการจากประธานาธิบดีสหรัฐไม่ทันกำหนด โรเบิร์ตส์จึงได้ถวายสินค้าจากเมืองจีนไปก่อน ส่วนของที่โรเบิร์ตส์ได้รับพระราชทานแทนประธานาธิบดีสหรัฐนั้น โรเบิร์ตส์ได้บันทึกว่า

"เมื่อวาน และวันนี้ได้รับสิ่งของพระราชทาน ผ่านเจ้าพระยาคลัง ดังนี้ งาช้าง น้ำตาล น้ำตาลปึก พริกไทย กระวาน รงทอง ไม้กฤษณา ไม้ฝาง และคราม"[1]

ในการเตรียมการต้อนรับทูตต่างประเทศ มีบันทึกว่าเป็นหน้าที่ของกรมท่า กรมพระตำรวจ กรมพระคลังวิเศษ กรมพระคลังในซ้าย กรมรักษาพระองค์ กรมกลาโหม กรมพระนครบาล กรมนา กรมพระคลัง กรมมหาดไทย และกรมวัง[3]

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา