สนธิสัญญาไวตางี
สนธิสัญญาไวตางี

สนธิสัญญาไวตางี

สนธิสัญญาไวตางี (อังกฤษ: Treaty of Waitangi; เมารี: Tiriti o Waitangi) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840 โดยผู้แทนของคราวน์หรือรัฐบริติช (British Crown) และหัวหน้าเผ่าเมารีหลายคนจากเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ ส่งผลให้มีการประกาศอำนาจอธิปไตยของบริเตนเหนือนิวซีแลนด์โดยรองผู้ว่าราชการวิลเลียม ฮอบสัน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1540สนธิสัญญาฯ ตั้งผู้ว่าราชการนิวซีแลนด์ที่เป็นชาวบริติช รับรองความเป็นเจ้าของดินแดนและทรัพย์สินอื่นของมาวรี และให้สิทธิคนในบังคับบริเตนแก่มาวรี สนธิสัญญาฯ ฉบับภาษาอังกฤษและมาวรีต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้นจึงไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าตกลงอะไรกันแน่ จากมุมมองของบริเตน สนธิสัญญาฯ ให้อำนาจอธิปไตยของบริเตนเหนือนิวซีแลนด์ และให้สิทธิผู้ว่าราชการปกครองประเทศ มาวรีเชื่อว่าตนยกสิทธิการปกครองแก่คราวน์โดยแลกกับการคุ้มครอง โดยไม่สละอำนาจในการจัดการกิจการของพวกตน[1] หลังการลงนามขั้นต้นที่ไวตางี มีการนำสำเนาสนธิสัญญาฯ ไปทั่วนิวซีแลนด์และในหลายเดือนถัดมา มีหัวหน้าอีกหลายคนลงนาม[2] รวมแล้วมีสำเนาสนธิสัญญาไวตางีเก้าฉบับรวมทั้งฉบับดั้งเดิมที่ลงนามเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840[3] ชาวมาวรีประมาณ 530 ถึง 540 คน โดยอย่างน้อย 13 คนเป็นหญิง ลงนามสนธิสัญญาไวตางี[4][5][6][7]จนคริสต์ทศวรรษ 1970 สนธิสัญญาฯ โดยทั่วไปถือว่าบรรลุความมุ่งหมายในประเทศนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1840 และถูกศาลและรัฐสภาละเลย แม้โดยทั่วไปถูกพรรณนาในประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์ว่าเป็นความใจกว้างในส่วนของจักรวรรดิบริติช ซึ่งในขณะนั้นเป็นจุดสุดยอด[8] มาวรีคาดหวังสิทธิและการชดเชยการเสียที่ดินและการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมจากสนธิสัญญาฯ แต่สำเร็จบ้าง ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เมารีเริ่มดึงความสนใจมายังการละเมิดสนธิสัญญาฯ และประวัติศาสตร์ต่อมาเน้นปัญหาเกี่ยวกับการแปล[9] ใน ค.ศ. 1975 มีการตั้งศาลชำนัญพิเศษไวตางีเป็นคณะกรรมการสืบสวนถาวรที่ได้รับมอบหมายให้วิจัยการละเมิดสนธิสัญญาฯ โดยคราวน์บริติชหรือเจ้าหน้าที่ และเสนอวิธีชดใช้เกือบ 150 ปีหลังการลงนามสนธิสัญญาฯ รัฐบาลพยายามให้ผลทางตุลาการและจริยธรรมต่อเอกสารโดยนิยาม "เจตนารมณ์" หรือ "ความจำนง" ใหม่อีกชุดของสนธิสัญญาผ่านการระบุหลักการของสนธิสัญญาฯ ท่าทีดังกล่าวแสดงว่าเอกสารต้นฉบับมิใช่รากฐานที่หนักแน่นของการสร้างรัฐ[10]ปัจจุบัน สนธิสัญญาฯ โดยทั่วไปถือเป็นเอกสารก่อตั้งชาตินิวซีแลนด์ กระนั้น ยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อน และทั้งชาวมาวรีและชาวนิวซีแลนด์ที่มิใช่มาวรีไม่ลงรอยมาก ชาวมาวรีจำนวนมากรู้สึกว่าคราวน์ไม่บรรลุข้อผูกมัดภายใต้สนธิสัญญาฯ และนำเสนอหลักฐานต่อที่ประชุมศาลชำนัญพิเศษไวตางี ชาวนิวซีแลนด์ที่มิใช่มาวรีบางส่วนแนะว่ามาวรีอาจละเมิดสนธิสัญญาฯ เพื่ออ้างเอกสิทธิ์พิเศษ[11][12] ในกรณีส่วนใหญ่ คราวน์ไม่มีข้อผูกมัดให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของศาลชำนัญพิเศษฯ แต่กระนั้น ในหลายกรณีก็ยอมรับว่าละเมิดสนธิสัญญาฯ และหลักการ การตกลงการละเมิดสนธิสัญญาฯ จนทุกวันนี้ประกอบด้วยการชดใช้ค่าเสียหายหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสดและสินทรัพย์ ตลอดจนคำขอขมาวันที่ลงนามเป็นวันหยุดราชการ ปัจจุบันเรียก วันไวตางี ตั้งแต่ ค.ศ. 1974

สนธิสัญญาไวตางี

ที่ลงนาม ไวตางี อ่าวไอแลนส์ ประเทศนิวซีแลนด์ และที่อื่นอีกมาก ปัจจุบันเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุนิวซีแลนด์ กรุงเวลลิงตัน
วันลงนาม 6 กุมภาพันธ์ 1840
ผู้ลงนาม ผู้แทนของคราวน์บริติช หัวหน้าเผ่ามาวรีหลายคนจากเกาะเหนือตอนเหนือ และภายหลังมีผู้ลงนามอีกกว่า 500 คน
บริบท สนธิสัญญาเพื่อสถาปนาผู้ว่าราชการนิวซีแลนด์ชาวบริติช พิจารณาความเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สินอื่นของมาวรี และให้สิทธิคนในบังคับบริเตนแก่มาวรี
ภาษา อังกฤษ, มาวรี
วันร่าง 4–5 กุมภาพันธ์ 1840 โดยวิลเลียม ฮอบสัน ด้วยความช่วยเหลือของเจมส์ ฟรีแมน เลขานุการ และเจมส์ บัสบี ผู้ที่เข้ามามีถิ่นที่อยู่ชาวบริติช

ใกล้เคียง

สนธิสัญญาแวร์ซาย สนธิสัญญาเบาว์ริง สนธิสัญญาเบอร์นี สนธิสัญญาญี่ปุ่น–สยาม พ.ศ. 2440 สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) สนธิสัญญาทรียานง สนธิสัญญา สนธิสัญญาอึลซา