ประวัติ ของ สนามกีฬาจาลันเบอซาร์

สนามเปิดครั้งแรกในวันเปิดกล่องของขวัญ เมื่อ พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929)[1] และคาดว่าจึงเป็นที่มาของสันสถาปนาฟุตบอลสิงคโปร์ โดยการแข่งขันมาลายาคัพ ได้จัดที่สนามแห่งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2509 และการแข่งขันมาเลเซียคัพตั้งแต่ พ.ศ. 2510 จนถึง พ.ศ. 2516

ช่วงระหว่างการยึดครองดินแดนสิงคโปร์จากญี่ปุ่น สนามนี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์การสังหารหมู่ซู่ชิง โดยระหว่างสงคราม สนามแห่งนี้ใช้เป็นศูนย์ภาษาเพื่อสอนภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

ใน พ.ศ. 2507 มีการชุมนุมที่สนามนี้เพื่อไว้อาลัยการเสียชีวิตของจาวาฮาร์ลาล เนรู นายกรัฐมนตรีของอินเดีย

สนามแห่งนี้เป็นสนามที่เคยจัดการแข่งขันมากมายในประวัติศาสตร์สิงคโปร์ เช่น เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานเทศกาลเยาวชนสิงคโปร์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2498, งานกองทัพบกสิงคโปร์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 และขบวนพาเหรดวันชาติสิงคโปร์ใน พ.ศ. 2524

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 สนามได้ทำการปิดปรับปรุง และเปิดอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ด้วยความจุ 6,000 ที่นั่ง โดยตำแหน่งของสนามแข่งขันยังอยู่ที่เดิมเหมือนในยุคก่อนปรับปรุง

ใน พ.ศ. 2549 ภายใต้แผนของฟีฟ่า สนามแห่งนี้ได้ปูหญ้าเทียมด้วยมาตรฐานฟีฟ่า 1 ดาว โดยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้รับทุนจากฟีฟ่าโกล และแผนการช่วยเหลือทางการเงินของฟีฟ่า ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ได้มีการปูหญ้าใหม่ โดยมีค่าใช้จ่าย 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยหญ้ามาตรฐานฟีฟ่า 2 ดาว ซึ่งเป็นหญ้าเทียมที่มีคุณภาพดีกว่า โดยได้รับทุนจากฟีฟ่า[2]

ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เบิร์นลีย์ ได้แข่งขันกับทีมรวมดาราสิงคโปร์ ในการแข่งขันเอฟไอเอสเอเชียนชาเลนจ์คัพ โดยสิงคโปร์แพ้ 0–1[3][4]

ระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ที่จัดขึ้นที่สิงคโปร์ สนามนี้เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันฟุตบอลชายและหญิงของการแข่งขันนี้

ในระหว่งที่ไลออนส์ทเวลฟ์มีผู้สนับสนุนเป็นคิงส์เมน ได้มีการสร้างอัฒจันทร์คิงจอรส์ขึ้นใน พ.ศ. 2555 โดยเป็นอัฒจันทร์ชั่วคราว ทำให้สามารถจุผู้ชมได้เพิ่มเป็น 8,000 คน

ในวันที่ 30 ตุลาตม พ.ศ. 2555 ได้มีการติดตั้งจอแสดงผลคะแนนแบบแอลอีดีใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม โดยสามารถแสดงภาพย้อนหลังระหว่างเกมในสนามได้[5] ซึ่งมีการติดตั้งจอทั้งหมด 2 จอ บนอัฒจันทร์หลักฝั่งทิศเหนือและทิศใต้

ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 อัตเลติโกเดมาดริดได้ลงเล่นในสนามนี้กับทีมรวมดาราสิงคโปร์ ในการแข่งขันถ้วยการกุศลของปีเตอร์ ลิม โดยสิงคโปร์แพ้ 0–2.[6]

ใกล้เคียง

สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ สนามกีฬาธรรมศาสตร์ รังสิต สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี สนามกีฬาลอนดอน สนามกีฬาเครสตอฟสกี สนามกีฬาซานมาเมส

แหล่งที่มา

WikiPedia: สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ http://www.asiaone.com/News/The+New+Paper/Story/A1... http://www.goal.com/en-sg/match/108336/singapore-s... http://www.goal.com/en-sg/news/3880/singapore/2012... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://newspapers.nl.sg/Digitised/Article.aspx?art... http://redsports.sg/2010/07/26/singapore-selection... https://web.archive.org/web/20050313140333/http://... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Jalan_... https://www.redsports.sg/2010/07/25/singapore-sele...